สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

 

ลุงบุญมีระลึกชาติ ฉายเก็บเงินในประเทศต่าง ๆ

  รายงานโดย อัญชลี ชัยวรพร / 6 เมษายน 2554
 
Share |
Print 
     
 

การขายให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ขายให้กับผู้ซื้อ 26 บริษัท ครอบคลุมพื้นที่ 29 ประเทศ และฉายไปแล้ว รวมทั้งโปสเตอร์ต่าง ๆ อีก 18 แบบ สรุปรวมการเคลื่อนไหวของการขายหนังไปทั่วโลกได้ดังนี้

ประเทศ
บริษัทที่ซื้อและลักษณะลิขสิทธิ์
วันที่ฉาย
ฝรั่งเศส Pyramide Distribution (all media) 1 กันยายน
เบลเยี่ยม, ลักเซ็มเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์ Contact Film Cinematheek (all media) เบลเยี่ยม 1 กันยายน
ลักเซ็มเบิร์ก 3 กันยายน
เนเธอร์แลนด์ 21 ตุลาคม
เกาหลีใต ไม่ทราบชื่อบริษัทผู้ซื้อ 16 กันยายน
แคนาดา
    Filmswelike (all media)
23 กันยายน - ธันวาคม
สาธารณรัฐเช็ก
และสโลวาเกีย
ArtCam (all media) สาธารณรัฐเช็ก ฉาย 30 กันยายน
ไม่มีข้อมูลการฉายของสโลวาเกีย
เยอรมนี Movienet (2010) (theatrical)
ZDF/Arte (2011) (TV)
30 กันยายน
อิตาลี BIM Distribuzione (all media) 15 ตุลาคม
ตุรกี Bir Film (all media) (limited) 21 ตุลาคม
ออสเตรีย Stadtkino Verleih (all media) 4 พฤศจิกายน
เดนมาร์ก Sunrise Film Distribution (all media) 18 พฤศจิกายน
อังกฤษ ไอร์แลนด์ และสก็อตแลนด New Wave Films (all media) 19 พฤศจิกายน
สเปน Karma Films (all media) 26 พฤศจิกายน
ไต้หวัน Hiatus (all media) 26 พฤศจิกายน
สวิสเซอร์แลนด์ trigon-film (all media) ไม่มีข้อมูลการฉายในโรง แต่ได้มีการออกแผ่นดีวีดีตั้งแต่ปีที่แล้ว
สิงคโปร์ Lighthouse Pictures (theatrical) 27 มกราคม
กรีซ AmaFilms (theatrical) 24 กุมภาพันธ์
สหรัฐอเมริกา Strand Releasing (theatrical) (subtitled) 2 มีนาคม
นอรเวย์ arthaus 4 มีนาคม
ญี่ปุ่น Moviola (2011) (theatrical) 5 มีนาคม
โปรตุเกส Midas Filmes 31 มีนาคม*
อาร์เจนติน่า

Zeta Films

21 เมษายน *
สวีเดน Folket Bio 29 เมษายน *

 

สำหรับการฉายในแต่ละประเทศ มีลักษณะดังนี้

โปรตุเกส เข้าฉายไปแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม โดยฉาย 2 เมือง คือ ลิสบอน และพอร์โต้ ทั้งหมด 3 โรง แต่ฉายทั้งวัน มีโปสเตอร์ด้วย (คลิ๊กเพื่อขยายภาพได้ และจะเห็นชื่อภาษาไทยด้วยค่ะ)

ออสเตรเลีย ไม่พบชื่อผู้จัดจำหน่ายในออสเตรเลีย แต่ทราบมาว่า หนังจะไปฉายเป็นหนังปิดโปรแกรมหนังเอเชียที่เมืองแคนเบอร์ร่า วันที่ 17 เมษายน และฉายต่ออีกหนึ่งสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 17 - 24 เมษายน

นิวซีแลนด์ ฉายในสาย World Cinema Showcase ในเครือโรงหนังแห่งหนึ่ง และฉายไป 3 เมือง ได้แก่ โอ๊คแลนด์ เวลลิงตัน ดันดิน ฉายเพียงบางวัน ๆ ละรอบ

ข้อมูลจาก imdb พบว่า มีการฉายที่ประเทศเหล่านี้ในโรงภาพยนตร์ไปแล้ว แต่ไม่พบข้อมูลผู้ซื้อหรือการฉายที่ชัดเจน

13 มกราคม ฮังการี
21 มกราคม โปแลนด์ และบราซิล

นอรเวย์ ฉายจำนวน 6 โรง 6 เมือง ได้แก่ Oslo Cinema, Bergen Kino, Kino Trondheim, Stavanger cinema, Aurora kino Fokus, Narvik and Kristiansand Kino

สหรัฐ ฉายที่นิวยอร์ค วันที่ 2 มีนาคม ซานฟรานซิสโก และแอลเอ วันที่ 5 มีนาคม เมืองละโรง พบว่ายอดรายได้สุดสัปดาห์แรก กวาดเงินไป $27,830 ตกจำนวนคนดูประมาณวันละ 350 คนต่อโรง

หลังจากนั้น หนังก็เดินทางไปฉายต่อตามรัฐต่าง ๆ รวมทั้งไปเทศกาลด้วย ลักษณะการเดินทางจะเหมือนโรดโชว์ ก็อปปี้เดียวแล้วฉายไปเรื่อย ๆ

แคนาดา หนังเข้าฉายที่แคนาดาตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน ที่ี่โตรอนโต้ ในโรงหนังอาร์ตเฮ้าส์ใหม่ของเมืองนี้ที่ชื่อว่า Bell Lightbox  ซึ่งเป็นโรงหนังที่ฉายหนังของเทศกาลโตรอนโต้ด้วย  การฉายของที่นี่จะฉายสลับกับหนังเรื่องอื่น  วันละ 1-3 รอบแล้วแต่กำหนด  โดยฉายทั้งหมด 10 รอบตลอดสัปดาห์  พอมาถึงสัปดาห์ที่สอง   ก็ยังมีรอบฉายทั้งหมด 8 รอบ

หลังจากไปฉายที่โตรอนโต้แบบจำกัดโรง หนังก็เดินทางแบบโรดโชว์ไปตามเมืองต่าง ๆ ดังนี้

Varsity VIP Cinema, Toronto: Oct 8 - 14
Bell Lightbox, Toronto, Oct 15 – 20 รอบเดียวทุกวัน
Vancity, Vancouver: Oct 16 - 21
The Bloor Cinema, Toronto: Oct 17 - 19
Cinecenta, Victoria: Oct 27 & 28
Vancity, Vancouver, Oct 30
Metro Cinema, Edmonton: Nov 5 - 9
The Bloor Cinema, Toronto: Nov. 19, 21 & 23.
Carlton Cinema, Toronto: Opens Oct 29
Princess Cinema, Waterloo: Nov 26 - Dec 2
Cinema du Parc, Montreal: Nov 26 - Dec 9, French at 7pm/ English at 9pm
Broadway Cinema, Saskatoon: Nov 26 - Dec 2
Bytowne Cinema, Ottawa: Dec 10 – 16
Denman Cinemas, Vancouver: Returns Dec 22nd
Bloor Cinema, Toronto: Jan 6 - 9, 2011
Regina Public Library: Jan 27 - 30, 2011
Cin?-Centre et Cin? Vid?o Club, Quebec City: Opens Jan 14 (w/ French Subtitles)
Cin?ma Magog, Quebec: Opens Feb 19 (w/ French Subtitles)

 



เทรลเลอร์ สเปน

สเปน หนังเข้าฉายตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน หาข้อมูลในการฉายไม่ได้ แต่รายได้ในสองสัปดาห์แรก กวาดเงินไป $109,875 หรือประมาณ 3,600,000

ไต้หวัน เข้าฉายในวันที่ 26 พฤศจิกายนเหมือนกัน แต่เข้าแบบโรงจำกัด รายได้ในสองสัปดาห์แรกตกประมาณ $14,521หรือ 500,000 บาท

 

 

เทรลเลอร์อังกฤษ

อังกฤษ, ไอร์แลนด์ และมอลต้า ฉายตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม ลักษณะการฉายที่อังกฤษมีทั้งสิ้น 14 โรง (ลอนดอน 5 แห่ง, ดับลิน 2 แห่ง และนิวคาสเซิล, ริชมอนด์ เอดินเบิร์ก แมนเชสเตอร์ น็อตติ้งแฮม เชฟฟิลด์ บริสตัล ฉายเพียง 1 แห่ง)

เก็บเงินได้ประมาณ $135,857 หรือ 4 ล้านกว่า

เดนมาร์ก ฉายเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน เข้าฉายอาร์ตเฮ้าส์โรงเดียว แต่ฉายนานถึง 3 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2010 - 10 กุมภาพันธ์ 2011

ออสเตรีย หนังเข้าฉายเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ฉายเพียงโรงเดียวถึงวันที่ 19 ธันวาคม โดยไม่ได้ฉายทั้งวัน ได้รายได้ทั้งหมด $28,781หรือประมาณ 1 ล้านบาท

 

เทรลเลอร์ฉบับเยอรมนี (German trailer)

เยอรมนี เข้าฉายตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 กันยายน โดยฉายทั่วประเทศถึง 15 เมือง ได้แก่ เบอร์ลิน เดรสเด่น ดุสเซนดอร์ฟ โคโลญจน์ มุนสเตอร์ แฟรงเฟิร์ต ไฟรเบิร์ก มิวนิค ในจำนวนโรงหนังทั้งหมด 19 โรง

ผลจากการฉายในสัปดาห์แรก หนังติดอันดับที่ 37 ได้เงินจำนวนทั้งสิ้น 27,605 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 900,000 บาท (ยังไม่ทราบตัวเลขการฉายทั้งหมด)

 

 

เทรลเลอร์ฉบับอิตาลี (Italian trailer)

อิตาลี เข้าฉายตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา จากการรายงานของน้องหยก ปนัดดากล่าวว่าหนังฉาย 18 โรงทั่วประเทศในวันพุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ และฉาย 9 โรงในวันจันทร์ อังคาร พฤหัส

หนังฉายในหลายๆแคว้นของอิตาลี ได้แก่ Emilia Romagna, Friuli Venezia Giulia, Lazio, Lombardia บางเมืองก็ฉายถึง 2 โรง วันละ 3 รอบ (อาทิมิลาน), Piemonte, Puglia และ Veneto แม้แต่เมืองเล็กๆ อย่าง Padova หนังก็ยังได้ฉาย

ที่น่าสนใจก็คือ ลุงบุญมีระลึกชาติ พูดเป็นภาษาอิตาลีในบางแห่ง และเพราะการฉายแบบจำกัดรอบและโรง หนังก็เลยไม่ติดชาร์ตใด ๆ แต่หนังฉายนานถึงวันที่ 5 ธันวาคม ได้รายได้ทั้งหมด $161,192 หรือประมาณ 5 ล้านบาทกว่า ๆ

เนเธอร์แลนด์ หนังเข้าฉายตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 6 เมือง ๆ ละ 1 โรง ได้แก่ โกรนิงเก้น ลิมเบิร์ก นอร์ด-บราบรันท์ นอร์ด-ฮอลแลนด์ อุทเทรจ์ และเซาท์ - ฮอลแลนด์ ไม่ติดชาร์ตใด ๆ

ตุรกี จากแฟนคลับไทยซีเนม่า แจ้งมาว่ามีโปสเตอร์ฉบับตุรกีอีกใบ เราลองเช็คดูแล้ว ก็เลยทราบมาว่าหนังฉายที่ตุรกีด้วย ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่เข้ากี่โรงแน่นอนไม่ทราบ ข้อมูลเบื้องต้นที่ค้นมาได้ พบว่าหนังฉาย 2 โรงที่อิสตันบูล โรงละ 5 และ 6 รอบ ฉายประมาณ 1 เดือนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้รายได้ประมาณ $7,797 หรือประมาณ 250,000

เกาหลีใต้ ฉายที่อาร์ตเฮ้าส์ในโซลตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน อาร์ตเฮ้าส์แห่งนี้มีโรงหนังเพียง 2 โรง จุคนได้โรงละ 140 ที่นั่ง แม้ว่าจะยืนพื้นเพียงโรงเดียว แต่หนังก็ฉายทั้งวัน วันละ 6 รอบ ตั้งแต่ 9.30 - 23.00 น. โดยเมื่อเข้าสัปดาห์ที่สอง หนังก็ยังยืนโรงถึง 6 รอบต่อวัน หนังฉายนานถึงเดือนพฤศจิกายน แต่จะลดรอบไปเรื่อย ๆ รายได้หนังในเดือนแรกประมาณ $36,794 หรือ 1,200,000 บาท

ดูรายละเอียดข้อมูลฉบับเกาหลีใต้ได้ที่นี่

ฝรั่งเศส สำหรับการฉายในฝรั่งเศสนั้น ฉายก่อนที่อื่นตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ฉายมากกว่า 84 ปรินท์ หรือประมาณ 84 โรง  ฉายเต็มวัน ๆ ละหลายรอบ  หลังจากหนังฉายได้ไปหนึ่งสัปดาห์  สื่อฝรั่งต่างลงข่าวว่าหนังไม่ประสบความสำเร็จเลยในเรื่องรายได้  เพราะไม่ติด 10 อันดับหนังทำเงินสูงสุด  ซึ่งดูจะเป็นการประโคมข่าวที่เกินความจริงและตื้นเขิน  เราคงไม่ปฎิเสธว่าหนังทำรายได้ติดอันดับที่ 15 และมียอดคนดูเพียง 45,115 คน  แต่เราจะต้องมองวิเคราะห์หนังเรื่องอื่น ๆ ที่ฉายในเวลาเดียวกันด้วย  ภาพยนตร์ที่ทำรายได้ติดท็อปเทนนั้น  ส่วนใหญ่จะมีปรินท์ทั้งหมด 200-500 ปรินท์  สามเท่าจากจำนวนของ ลุงบุญมีระลึกชาติทั้งหมด  เพราะมีจำนวนปรินท์น้อยกว่าและเข้าโรงน้อยกว่า  ก็ยากที่จะติดอันดับท็อปเทนได้

และถ้ามาดูหนังที่มีจำนวนปรินท์ไล่เลี่ยกันอย่าง Poetry ของลีชางดง  ซึ่งเข้าโรงฉายที่ฝรั่งเศสก่อนหน้านั้นหนึ่งสัปดาห์  หนังมีจำนวนทั้งสิ้น 67 ปรินท์  ผ่านไปแล้วหนึ่งสัปดาห์หนังก็ติดอันดับที่ 14-15 ของฝรั่งเศสเช่นกัน  เพียงแต่ว่าจำนวนคนดูในแต่ละรอบของ Poetry จะมากกว่า  ตกโรงละ 775 คน  ขณะที่ ลุงบุญมีระลึกชาติ มีคนดูตกประมาณโรงละ 537 คนตลอดทั้งสัปดาห์ 

แต่เราก็คงปฎิเสธไม่ได้ว่า ลุงบุญมีระลึกชาติ เป็นหนังรางวัลปาล์มทองที่คนดูน้อยที่สุด  จากคำบอกเล่าจากนักวิจารณ์ฝรั่งเศสผู้หนึ่ง  เมื่อครั้งที่ The Class เข้าฉายที่ฝรั่งเศสนั้นมีทั้งหมด 300 กว่าปรินท์  หรือถ้าจะเทียบกับหนังรางวัลกรังค์ปรีซ์อย่าง Of Gods and Men ก็ยังมีจำนวนปรินท์มากกว่า  ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นหนังฝรั่งเศสเองก็ได้

รายได้ของหนังทั้งหมดจากการฉาย 4 วันแรก ตกอยู่ที่ $292,213 หรือประมาณ 10 ล้านบาทได้

ดูรายละเอียดข้อมูลฉบับฝรั่งเศสได้ที่นี่

เบลเยี่ยม  ในวันเดียวกับที่ฝรั่งเศส ลุงบุญมีระลึกชาติ ได้เข้าฉายที่เบลเยี่ยมด้วย  โดยฉายทั่วประเทศจำนวน 7 โรง  หนังไม่ติดอันดับใด ๆ แม้กระทั่ง 20 อันดับหนังทำเงินสูงสุด  ขณะที่ Of Gods and Men เข้าฉาย 20 กว่าโรง  ก็สามารถทำเงินติดท็อปเทนได้  แต่หนังก็ยังคงเข้าฉายอย่างต่อเนื่อง แม้จะทำรายได้ไม่มากนัก  หนังก็ยังฉายตามเมืองต่าง ๆ ในเบลเยี่ยมกว่า 6 แห่ง  โดยลดจำนวนรอบในเมืองใหญ่ ๆ  ไปฉายในเมืองเล็ก ๆ มากขึ้น

ลักเซ็มเบิร์ก สัปดาห์เดียวกันเมื่อวันที่ 3 กันยายน  หนังได้เข้าฉายที่ลักเซ็มเบิร์กด้วย  แต่ฉายทั้งวันเพียงโรงเดียว  

โปสเตอร์ฉบับเบลเยี่ยม
และลักเซ็มเบิร์ก ผิดกันที่ชื่อ
 

หนังฉายยาวนานเดือนกว่าถึงวันที่ 24 ตุลาคม มีรายได้ประมาณ $58,514 หรือประมาณ 2 ล้านได้

 

โปรตุเกส

นอรเวย์

สหรัฐ : คริส แวร์ นักวาดการ์ตูนชื่อดังของอเมริกา เป็นคนออกแบบ โดยให้เหตุผลไว้ว่า "ผมต้องการถ่ายทอดให้เห็นความเคร่งขรึมของหนังที่มีอยู่ และรักษาความรู้สึกที่ไม่เสแสร้งและเข้าถึงได้อย่างหละหลวม ผมคิดว่ามันจะต้องเป็นอะไรที่สะดุดใจและแปลกใหม่ พร้อมกับที่ทำให้คนดูกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้โดยไม่ดูแคลนเชาวน์ปัญญาของเขา (หวังไว้)

Chris Ware (Jimmy Corrigan, the Smartest Kid on Earth) said : "I wanted to get at both the transcendent solemnity of the film while keeping some sense of its loose, very unpretentious accessibility. This being a poster, however — and even worse, me not really being a designer — I realized it also had to be somewhat punchy and strange, so as to draw viewers in and pique their curiosity without, hopefully, insulting their intelligence."

   
   
กรีซ
ญี่ปุ่น
สิงคโปร์
   

อังกฤษ
   

ไต้หวัน

เกาหลีใต้
   

ออสเตรีย

เม็กซิโก
 

สเปน Spain

ตุรกี (Turkey)
 

เยอรมนี (Germany)

อิตาลี (Italy)
   

France

 

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.