สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
สุดยอดของสารคดีแบบความเรียง ดวงตาเสือ
   
  แบ่งปัน            Share this on Twitter             Print  
   
 

(อภิชาติพงศ์อยู่ท้าย ๆ และพูดภาษาอังกฤษ)

 

ถ้าสารคดีเกี่ยวกับหนังเรื่องใดเลือกที่จะสัมภาษณ์ผู้กำกับชั้นครูมารวมกันหลาย ๆคน งานนั้นก็เป็นที่น่าสนใจในระดับหนึ่งอยู่แล้ว  เพราะนอกจากงานกำกับอันเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว  ้แง่มุมของพวกเขามันสุกงอม  กลั่นออกมาจากความรอบรู้ในภาพยนตร์ทั้งภาคปฎิบัติและทฤษฏีในแง่ความคิด 

่ยิ่งถ้างานชิ้นนั้นผ่านฝีมือนักทำสารคดีที่เล่าเรื่องแบบความเรียงหรือ essay อย่างแฟรงค์ เชฟเฟอร์  มันจึงเต็มไปด้วยความลึกและความงามอย่างไม่คาดคิด   Tiger Eyes  ขึ้นชั้นเป็นหนังสารคดีประจำปีของผู้เขียนอย่างง่ายดาย

Tiger Eyes นำเสนอความคิดคำนึงของผู้กำกับที่ได้รับการคัดเลือกมาจากไดเร็คเตอร์ของเทศกาลหนังร็อตเตอดัมทีละคน  โดยแฟรงค์ เชฟเฟอร์จะสัมภาษณ์ผู้กำกับทีละคน นำเสนอออกมาเป็นสารคดีเหมือนเป็นภาพโมเสค

สำหรับผู้กำกับทั้ง 7 ท่านที่ได้รับการคัดเลือกมาได้แก่
Raul Ruiz (Chile/France)
Wim Wenders (Germany)  
Abbas Kiarostami (Iran) คัดเลือกโดยมาร์โก้ ซึ่งขณะนี้เป็นไดเร็คเตอร์เทศกาลหนังเวนิส
Michael Haneke (Austria)
Abderrahmane Sissako (Mauritania)
Apichatpong Weerasethakul (Thailand)  ได้รับการคัดเลือกจากไซมอน ฟิลด์  ซึ่งปัจจุบันหันมาทำหน้าที่โปรดิวเซอร์  รวมทั้งงานเรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ
Cameron Jamie (USA)

กว่าครึ่งของเวลา 53 นาทีนี้  ทุ่มให้กับวิม เวนเดอร์ส ราอุย รุยส์  มากกว่าเพื่อน อาจจะความคิดนั้นลุ่มลึกแบบผู้กำกับชั้นครู  โดยมีส่วนของเจ้ย หรืออภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เป็นคนสุดท้าย

จุดเด่นของงานสารคดีชุดนี้  นอกไปจากความคิดของผู้กำกับแต่ละคนแล้ว  แฟรงค์ เชฟเฟอร์ก็รู้จักที่ใช้เทคนิคขาวดำมาช่วย  ทำให้ภาพดูคลาสิก  ผนวกกับจังหวะของหนังที่ออกจะช้า  ก้าวอย่างราบเรียบ  รวมทั้งการใช้ดนตรีประกอบที่ชวนให้เกิดความอยากรู้  มีพลัง 

แฟรงค์รู้จักที่จะเลือกฉากในหนังของผู้กำกับคนนั้น ๆ ให้ตรงกับคำสัมภาษณ์อันเป็นจุดเด่น  เขาเริ่มคำถามแต่ละคนเหมือนกันด้วยว่า อะไรคือภาพแรกในชีวิตที่เขาจำได้ 

 

 

ในส่วนของอภิชาติพงศ์  เขาตอบว่าความทรงจำแรกของเขาก็คือ เขากับแม่ยืนอยู่หน้าบ้าน  รอพระที่จะมาบิณฑบาตรตอนเช้า  เพราะฉะนั้นภาพยนตร์สำหรับอภิชาตพงศ์จะอยู่ระหว่างเส้นแห่งความฝันและจินตนาการ  และมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธอย่างล้ำลึก  เป็นเรื่องเกี่ยวกับเวลา 

อภิชาติพงศ์ กล่าวว่า เวลาดูหนังของผม  มันเหมือนกำลังจะเข้านอน  คุณไม่จำเป็นจะต้องคิดมาก  คุณแค่เตรียมไปพักผ่อน  จิตใจของคุณจะผ่อนคลาย  ความฝันจะคุยกับคุณ  และนั่นก็คือวิถีทางที่คุณจะจัดการกับหนัง

สารคดีชุดนี้อาจจะหาดูยากสักนิด  แต่ถ้ามีโอกาสหามาดูได้  คุณจะได้แง่มุมใหม่ ๆ เกี่ยวกับหนังที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง

   
 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.