k
 สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
อุรุพงษ์ รักษาสัตย์ คว้ารางวัลชนะเลิศฟิลม์เอ็กซ์โป นะโม คว้ารอง
  10 สิงหาคม 2553
   
 
Share |
 

 

 

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลฟิลม์เอ็กซ์โปเอเซีย ปรากฎว่าเป็นไทยถึง 6 รางวัล ที่้เหลือเป็นสหรัฐอเมริกา จีน และอินเดียชาติละเรื่อง รวมทั้งสิ้นมี 9 รางวัล ดังนี้

Film Expo Asia Award : รูปของพ่อ โดย อุรุพงศ์ รักษาสัตย์, เนาวเรศ ชาวน้ำปาด และเกรียงศักดิ์ วิทยาอนิวรรตน์

 

 

โตโยต้าอวอร์ด : ตริชาตา (สหรัฐอเมริกา) โดย บรูซ เฺฉิน, เจเรมี่ เฉิน และจาค็อบ โรบินสัน

ภาพยนตร์ดีเด่น 7 รางวัล ได้แก่

- ฉันเห็น (ไทย/สหรัฐอเมริกา) โดย ชิน ตั้งสกุลสถาพร, อนุวัตน์ ศรีปรีชา, วิชรัตน์ จาติเสถียร และ ทรงศักดิ์ เขียวอ่อน
- นิทานกล้าทะเล (ไทย) โดย ชินภัทร โพธิ์เที่ยง, ฉลองวุฒิ ช่อเรืองศักดิ์, สิริวัฒน์ สีแสง
- Still Life (อินเดีย) โดย อนุชา นันดากุมาร และยักย่า ปรียา กัวแตม
- คนข้ามแดน (ไทย) โดย นะโม ทองกำเนิด (นักแสดงของไฟว์สตาร์) และขจร กานต์วารีรักษ์ รายละเอียดของหนังอ่านได้ที่นี่
- พ่อลำเอียง (ไทย) โดย อนุพงษ์ อร่ามบุตร, อรรฆพงษ์ ผลประเสริฐ, ณัฎฐา เตชเมธากุล และมัณฑนา นวชาติพงศธร
- Cicada's Song (จีน) โดย Di Cui และ Ji Zhao
- เพื่อนใหม่กับชายบนเหรียญบาท (ไทย) โดย ทิฆัมพร ภูพันนา, นัสราภรณ์ พลอยนวลงาม, ผณิตา คงสุข และขนิษฐา ธนบัตร

   

SIPA และสมาพันธ์ภาพยนตร์ฯ เปิด 3 โครงการใหญ่

  14 มีนาคม 2553 ณัฏฐ์ธร กังวานไกล รายงาน
   
 

 

ถือว่าเป็นโครงการใหญ่ประจำปีนี้ สำหรับ Film Expo Asia และก่อนจะเกิดเหตุไม่สงบในบ้านเมือง ผู้จัดงานรีบชิงแถลงข่าวอย่างเร่งด่วนที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา  โดย 3 โครงการใหญ่นี่มีตัวตั้งตัวตีเป็นสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ SIPA  โดยโครงการนี้ได้รับงบมาจากโครงการไทยเข้มแข็ง และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทางด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์   ซึ่งก็คือการพัฒนางานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ ให้นำรายได้กลับคืนสู่ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจากตัวผลงานเอง หรือด้านการประชาสัมพันธ์ประเทศผ่านการเข้ามาร่วมกิจกรรมของชาวต่างประเทศ โดยในงานแถลงข่าว มีร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาเป็นประธานเปิดงาน

ดร.จิราศักดิ์ พงษ์พิษณุพิจิตร์ ประธานกรรมการบริหาร SIPA ได้กล่าวในงานแถลงข่าวว่า โครงการทั้งสามเป็นเหมือนการเปิดตัว SIPA ที่แต่ก่อนผู้คนอาจจะเคยได้ยินชื่อหน่วยงานนี้ แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรบ้าง และก็ยังจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าคนไทยเก่งแค่ไหน เป็นการเริ่มต้นที่ดีแม้ว่าในตอนแรกงบจะได้มาค่อนข้างยากก็ตาม แต่เมื่อได้มาแล้วก็ต้องใช้ให้คุ้มค่าที่สุด

ทั้งสามโครงการนั้นมีความเกี่ยวข้องกัน ดังนี้

  1. เทศกาลดนตรีเอเชีย  ( 2010 เอเชี่ยนมิวสิคเฟสติวัล) เป็นการเปิดอบรมให้แก่ผู้สนใจด้านดนตรี โดยเน้นหนักไปที่ดนตรีและเสียงประกอบภาพยนตร์  จะเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ด้านนี้จากมืออาชีพ นำทีมโดยชื่อที่คุ้นหูกันอย่างดีอย่าง ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์  ผู้ที่สนใจเข้ามาสมัครร่วมในเวิร์คชอป ก็ต้องมีพื้นฐานและความสนใจด้านการออกแบบเสียงและทำดนตรีประกอบอยู่  คัดเลือกผู้เข้าอบรม 99 คน
  2. เทศกาลแอนิเมชั่นเยาวชนเอเชีย (แอนิเมชั่นยูธเฟสติวัลเอเชีย 2010) เป็นการเปิดรับสมัครผู้สนใจด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิค ให้ประยุกต์เข้ากับสื่อดิจิตอล โดยวิทยากรจะเน้นไปที่คนทำหนังมากกว่าคนทำแอนิเมชั่น อย่างเช่นนนทรีย์ นิมิบุตร,อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ และบัณฑิต ทองดี เป็นต้น  ผู้สนใจก็จะต้องมีพื้นฐานด้านการใช้โปรแกรม photoshop, after effect ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สำคัญลำดับต้นๆ ในการทำงานด้านนี้  คัดเลือกผู้เข้าอบรม 99 คน
  3. ฟิลม์เอ็กซ์โปเอเชีย เป็นส่วนในการผลิตหนังสั้น 

ในส่วนของเวิร์คชอปของทั้งสามโครงการ จะจัดตามจังหวัดต่างๆ ทั้งหมด 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา,กรุงเทพ,ขอนแก่น,ภูเก็ต และเชียงใหม่  เป้าหมายของทุกโครงการคือจะมีผู้สมัครเข้าร่วมเวิร์คช็อปมากถึง 5,000 คน แต่ก็จะทำการคัดเลือกอีกทีหนึ่งเพื่อให้ได้ตามจำนวนที่เหมาะสมของแต่ละโครงการ โดยเริ่มสอนแล้วตั้งแต่ช่วงกลางมีนาคม ไปจนถึงช่วงต้นพฤษภาคม

ผู้ที่เข้าร่วมอบรมในสองโครงการแรก  ซึ่งได้รับการคัดเลือกโครงการละ 99 คน จะต้องมาช่วยผู้เข้าอบรมของ Film Expo ทำหนังตามความถนัดของตน  เพื่อนำผลงานออกสู่สาธารณะชนและจัดเป็นการประกวดให้กรรมการได้ตัดสินมอบรางวัลอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะมีการจัดงานใหญ่ขึ้นอีกทีในช่วงครึ่งหลังของปี 2553

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.