คุณเดินทางจากเทศกาลหนังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอย่างปูซาน คุณมีความประทับใจอะไรบ้างไหม
เป็นเอก : ผมเหนื่อย (หัวเราะ) ผมต้องทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินภาพยนตร์ประกวดในสายหลักที่เรียกว่า New Currents ซึ่งจะคัดเฉพาะหนังเรื่องแรกและเรื่องที่สองของผู้กำกับหน้าใหม่จากเอเชีย ก็เลยต้องดูหนังเยอะ ต้องนั่งถกเถียงกัน ปูซานเป็นเทศกาลที่ทุกคนมาที่นี่ เพราะฉะนั้นที่นี่ก็เลยเป็นสถานที่เราจะได้พบเพื่อนเก่าเพื่อนใหม่ มีงานเลี้ยงอยู่ตลอดคืน
ผมค่อนข้างพอใจผลการตัดสินนะครับ หนังอิรัก ญี่ปุ่นเรื่อง Kick Off ของ Shawkat Amin Korki'ego ได้รับรางวัลไป รวมทั้งหนังเกาหลีที่ทำดีมาก ๆ เรื่อง I'm in Trouble ของ So Sang-mine เป็นหนังจากนักเรียนที่ผมชอบตั้งแต่แรกแล้ว มีหนังโปแลนด์ที่นี่ด้วยอยู่ 2- 3 เรื่อง ผมอยากไปดูหนังเรื่อง Forest โดย Peter Dumala มาก ๆ แต่ไม่มีเวลาเลย ตอนนั้นผมต้องไปพบกับไดเร็คเตอร์ของทางเทศกาล
คุณมีความรู้สึกอย่างไรต่อสถานภาพหนังเอเชีย
ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำหนัง มันเป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชียเช่นกัน ตอนนี้ไม่มีใครอยากลงทุนเพื่อจะขายหนังให้กับต่างประเทศ มันเป็นปัญหาอันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์ในขณะนี้ ที่กำลังส่งผลกระทบกับคนทำหนังทุกคน หลายปีก่อนมันมีพลังที่เรารู้สึกได้ แต่พอถึงเวลาที่จะสร้างสรรค์หรือพอถึงเวลาของหนังอาร์ตแล้ว มันตกหมดแบบมองไม่เห็น (หัวเราะ)
แล้วหนังไทยล่ะ
หนังไทยเหมือนหนังอเมริกา ก็อปปี้มามากกว่าที่จะทำหนังในรูปแบบหนังยุโรป หนังตลกโง่ ๆ เยอะแยะไปหมด ทุกคนอยากจะถ่ายแต่หนังพวกนี้ หนังดี ๆ ที่ทะเยอทะยาน เป็นงานศิลป์ และมีความหมายลึก ๆ ยังคงอยู่นอกระบบอยู่
แล้วนิวเวฟไทยล่ะ
ผมไม่รู้ จริง ๆ แล้วคำนี้เป็นคำที่เขาพูดถึงเรา เพื่อน ๆ ของผมอย่างอภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล และวิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง ถูกเรียกว่าเป็นอย่างนั้น เขาบอกว่าเราแตกต่างจากมาตรฐานทั่วไป เพราะว่าเราไม่อยากทำหนังแบบที่คนส่วนใหญ่อยากทำ บางทีอาจะเป็นเพราะว่าเราถ่ายหนังเมนสตรีมไม่เป็น หรือหนังอันไม่เป็นที่ยอมรับของในระบบ ไม่รู้สิครับ แต่มันก็ส่งผลกระทบเราบ้าง เราต้องทำหนังทุนต่ำอย่างที่เราอยากทำ โดยไม่มีโครงสร้างที่วางรากฐานมานาน หรือต้องทำ แต่มันก็มีราคาที่เราต้องจ่าย เราทำหนังได้น้อยลง หาเงินยาก ทุกคนชอบอิสรภาพของเรา เอ่อ ไม่ทราบว่าอย่างนี้จะเรียกนิวเวฟได้หรือไม่
บทสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2552 |