สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
สวรรค์บ้านนา ได้รับรางวัลยูเนสโ้ก้จากเอเชียแปซิฟิกสกรีนอวอร์ด
  26 พฤศจิกายน 2552
 

ประกาศผลมาแล้ว ปรากฎว่า หนังไทยทั้งสองเรื่อง ได้แก่ พลเมืองจูหลิง และ สวรรค์บ้านนา ไม่ได้รับรางวัลทางการ   ได้แก่ ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม และถ่ายภาพยอดเยี่ยม  แต่ สวรรค์บ้านนา ได้รับรางวัลยูเนสโก้ ซึ่งให้กับภาพยนตร์ที่ส่งเสริมและอนุรักษ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  

การประกาศรางวัลปีนี้มีการถ่ายทอดสดทางเว็บ  แต่ผลปรากฎว่าภาพกลับมาช้าและไม่ชัด จนต้องใช้เดา และไม่สามารถนำมารายงานข่าวได้

อันนี้เป็นภาพก่อนพิธิเปิดนะคะ ขอโทษด้วยที่ให้ข้อมูลผิด ปรากฎว่าผู้กำกับจากทั้ง 2 เรื่อง ได้เข้าร่วมงานด้วย (ข้อมูลสื่อไม่ได้รวมอุรุพงษ์ รักษาสัตย์ในตอนแรก)


   

พลเมืองจูหลิง และ สวรรค์บ้านนา ได้เข้าชิงรางวัลเอเชียแปซิฟิกสกรีนอวอร์ด, เด็กโข่ง ก็เกือบ
  13 ตุลาคม 2552
   
 

ได้รับทราบข่าวจากกรรมการท่านหนึ่งของรางวัลเอเชียแปซิฟิกสกรีนอวอร์ด ว่าปีนี้จะมีหนังไทย 2 เรื่องที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลปีนี้  เป็นหนังอินดี้ทั้งคุ่

หนังทั้งสองเรื่อง ได้แก่ พลเมืองจูหลิง ได้เข้าชิงในสาขาสารคดียอดเยี่ยม และ สวรรค์บ้านนา ได้เข้าชิงสาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม สำหรับรายชื่อผู้เข้าชิงอื่น ๆ ดูได้ที่นี่

BEST DOCUMENTARY FEATURE FILM
Polamuang Juling (Citizen Juling),
Hashmatsa (Defamation), ชนะรางวัล
Gandhi's Children,
L'important, C'est De Rester Vivant (The Main Thing Is To Stay Alive),
Seishin (Menta)

ACHIEVEMENT IN CINEMATOGRAPHY
Uruphong Raksasad for Sawan Baan Na (Agrarian Utopia)
Cao Yu for Nanjing! Nanjing! (City of Life and Death) ชนะรางวัล
Ali Mohammad Ghasemi for Cheraghi Dar Meh (A Light in the Fog),
Alisher Khamidhodjaev and Maxim Drozdov for Bumazhyj Soldat (Paper Soldier)
Alexei Arsentiev for Volchok (Wolfy)

รัสเซล เอ็ดเวิร์ดส นักวิจารณ์หนังเอเชียชื่อดังจากวาไรตี้  กล่าวว่า พลเมืองจูหลิง เป็นสารคดีที่น่าสนใจ เพราะถ่ายทอดให้เห็นวิถีชีวิตและความคิดแบบคนไทยได้อย่างดี  

นอกจากนี้แล้ว เด็กโข่ง ก็ได้รับการเสนอชื่อในระหว่างการประชุม  เพียงแต่ไม่ผ่านคณะกรรมการทั้งหมดเท่านั้น

สำหรับรายละเอียดของรางวัลนี้ และการเสนอชื่อเข้าชิงปีก่อนหน้านี้ โปรดอ่านได้จากข้างล่างนี้

   

Wonderful Town กับรางวัล Asia Pacific Screen Awards

  13 กันยายน 2551
   
 

กลับมาสร้างกระแสอีกครั้ง  หลังจากไปพักร้อนนานหนึ่งเดือน  ล่าสุดประกาศมาแล้วว่า Wonderful Town ฝ่าด่านภาพยนตร์ 43 ประเทศ  หนัง 180 เรื่องเข้าประกวดเพื่อชิงรางวัลภาพยนตร์เอเชีย - แปซิฟิก หรือ Asia Pacific Screen Awards แล้ว  และนับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับการเสนอชื่อสำหรับรางวัลนี้

 

รัสเซล เอ็ดเวิร์ดส์ (แถวหน้ากลาง) ฟิลิป เชียห์ (แถวหน้า ขวาสุด)

 

รางวัล Asia Pacific Screen Awards เป็นรางวัลที่จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว เพื่อส่งเสริมภาพยนตร์จากเอเชีย - แปซิฟิค  โดยมีสำนักงานและสถานที่จัดงานใหญ่ที่โกลด์โคสต์ ประเทศออสเตรเลีย  โดยพิจารณาให้รางวัลกับภาพยนตร์ที่ทั้งส่งประกวดเอง หรือได้รับการนำเสนอโดยคณะกรรมการของหน่วยงานนี้  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักภูมิภาคนี้อยู่แล้ว อาทิ ฟิลิป เชียห์ (เทศกาลหนังสิงคโปร์)  รัสเซล เอ็ดเวิร์ด (นักวิจารณ์ประจำวาไรตี้)  คิม ฮองจุน (เทศกาลหนังชุงมูโร)  โดยพิจารณาภาพยนตร์ต่าง ๆ ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ภาพยนตร์ฟีเจอร์  สารคดี  แอนิเมชั่น  และหนังเด็ก

ภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือกในปีนี้ อาทิ Aamir Khan (India), Johnnie To (Hong Kong), Majid Majidi (Iran), Ashutosh Gowariker (India), Kiyoshi Kurosawa (Japan), Mai Masri (Lebanon), Ari Folman (Israel), Aditya Assarat (Thailand), Annemarie Jacir (Palestine), Benjamin Gilmour (Australia), Anna Melikyan (Russian Federation) and Vincent Ward (New Zealand)

สำหรับรางวัลของปีนี้ ได้แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • Jury Grand Prize
  • Best Feature Film
  • Best Animated Feature Film
  • Best Documentary Feature Film
  • Best Children’s Feature Film
  • Achievement in Directing
  • Best Screenplay
  • Achievement in Cinematography
  • Best Performance by an Actress
  • Best Performance by an Actor

พร้อมกับรางวัลพิเศษความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • The FIAPF — International Federation of Film Producers Associations Award for outstanding achievement in film in the Asia-Pacific region.
  • The United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization (UNESCO) Award for outstanding contribution to the promotion and preservation of cultural diversity through film.

ปีนี้พิธิแจกรางวัลจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปีนี้

   
 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.