หนังยาวเรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ ซึ่งเข้าประกวดเเมืองคานส์ในปีนี้นั้น จริง ๆ แล้วเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็คสื่อผสม Primitive ซึ่งมีทั้งหนังยาว หนังสั้น และการแสดง performance arts ผลงานเหล่านั้นได้เดินทางไปแสดงในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก มาตั้งแต่ต้นปี 2552 ซึ่งเราได้รวบรวมมาตลอดเท่าที่จะทราบ เชิญอ่านได้
2553
เืดือนเมษายน
เจ้ย รับรางวัลที่โซลต้นเดือนนี้
อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ชนะรางวัลเอเชียอาร์ทที่โซลเป็นคนแรก
Phanton of Nabua ไปแสดงที่โซล และได้รับรางวัลเอเชียอาร์ทเป็นคนแรกในเอเชีย
เอเชียอาร์ทเป็นรางวัลอาร์ททางศิลปะเป็นรางวัลใหม่ ที่ก่อตั้งโดยมูลนิธิวัฒนธรรมซีเจ มูลนิธิส่งเสริมการของเกาหลีและศิลปะทางเลือก LOOP เพิ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ เพื่อที่จะค้นหาศิลปินเอเชียหนุ่มสาวที่มีฝีมือ และสนับสนุนเผยแพร่ศิลปะของพวกเขาไปสู่ระดับนานาชาติ
การคัดเลือกรางวัลนี้จะเริ่มจากนักวิจารณ์และภัณฑกรด้านศิลปะจากประเทศต่าง ๆ 42 คน มาช่วยแนะนำศิลปินเอเชีย 42 ท่าน จากนั้นก็จะให้กรรมการ 7 ท่าน คัดศิลปินให้เหลือ 6 คน ซึ่งศิลปินทั้ง 6 ท่านนี้จะแสดงนิทรรศการเดี่ยวไป 3 ประเทศ
สำหรับผลงานของเจ้ยที่ชนะรางวัลนี้เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง Phantoms of Nabua ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่างานของอภิชาตพงศ์มีความหมายและมาก่อนเวลา มันใช้เวลานานมากที่งานภาพถ่ายจะก้าวเข้าสู่ศิลปะไฟน์อาร์ตได้ แต่ขณะนี้งานวิดีโอโดด ๆ ก็ได้รับการยอมรับด้วยเช่นกัน
สำหรับศิลปินจากชาติอื่น ๆ มีดังนี้
Ashok Sukumaran, อินเดีย
ChimPom, ญี่ปุ่น
Jompet Kuswidananto อินโดนีเซีย
Shi Jin Song จีน
Yangachi เกาหลีใต้
23 มีนาคม - 17 เมษายน แสดงนิทรรศการเดี่ยว ชุด NATIVE LAND ณ SCAI THE BATHHOUSE แกลเลอรี่แสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยของโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งงานศิลปะชิ้นสำคัญในนิทรรศการครั้งนี้ของเขาคือ ผลงานวีดีโออาร์ตชื่อ Phantoms of Nabua หรือ ผีนาบัว อ่านรายละเอียดได้ที่นี่
27 มีนาคม - 5 เมษายน Festival Bo : m 201 ไปเทศกาลด้าน performance และ Visual Arts แสดงที่กรุงโซล โดยได้คัดเลือก A Letter to Uncle Boonmee ไปแสดง ตั้งแต่สัปดาห์เมื่อต้นเดือน
22 เมษายน - 2 พฤษภาคม - A Letter to Uncle Boonmee ไปฉายโชว์ที่เทศกาลหนังอินดดี้ลิสบ้อน โดยมี เถียงนาน้อยคอยรัก ไปประกวด อ่านรายละเอียดได้ที่นี่
14 พฤษภาคม - 11 กรกฏาคม 2553 Phantoms of Nabua แสดงที่ BFI ทุกวัน อ่านรายละเอียดได้ที่นี่
ในวาระปีใหม่นี้ ภาพยนตร์สั้น จดหมายถึงลุงบุญมี ยังคงเิดินทางอีกนิดหน่อย สรุปได้ดังนี้
18 - 28 กุมภาพันธ์ หนังได้เดินทางไปประกวดสาขาหนังสั้น ของเทศกาลหนังกลาสโกว์ไป แต่ไม่ได้รับรางวัลใด ๆ สามารถตามหาอ่านได้ที่ http://www.glasgowfilmfestival.org.uk/short
5 มีนาคม Asian Film Archive ของ Bee Thium ที่สิงคโปร์ เชิญหนังไปฉาย
22 มีนาคม - 6 เมษายน หนังไปฉายโชว์ในสาย Avant Garde ฉาย 2 รอบ คือ วันที่ 24 มีนาคม และ วันที่ 8 เมษายน
25 - 28 มีนาคม เทศกาลหนังแอนอาร์เบอร์ ที่สหรัฐ เชิญไปฉายโชว์ในสายพิเศษ รอบเดียวค่ะ
ทั้งนี้ทางเทศกาลได้พิจารณาให้รางวัลพิเศษ คือ
The Memory and Magic Award แก่หนังเรื่อง A Letter to Uncle Boonmee - Apichatpong Weerasethakul เป็นเงินรางวัล 1,200 เหรียญสหรัฐด้วย
เดือนธันวาคม
สำหรับวาระสิ้นปี มีแถมท้ายอีก 2 งานที่
30 พฤศจิกายน - 9 ธันวาคม จดหมายถึงลุงบุญมีื ได้รับการคัดเลือกไปร่วมงานที่ Rencontres Internationales
Paris/Berlin/Madrid นิทรรศการที่เน้นการค้นพบและการถ่ายทอดระหว่างงานศิลปะร่วมสมัยกับภาพยนตร์สมัยใหม่ โดยคัดเลือกผลงาน 120 ชิ้นจากทั่วโลก อ่านดูรายชื่ออื่น ๆ ได้ที่นี่
งานจัดแสดง 4 ที่ Centre Pompidou,
the Jeu de Paume national museum,
the Ch?telet Theatre.
the Reflet Medicis movie theater.
9 - 16 ธันวาคม จดหมายถึงลุงบุญมี เข้าประกวดที่ดูไบ
เดือนพฤศจิกายน
1 - 7 พฤศจิกายน จดหมายถึงลุงบุญมี เข้าประกวดที่เทศกาลหนังสารคดีโปโปลี่ ที่เมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี ในสาขาหนังสั้น แต่ไม่ได้รับรางวัลใด ๆ
6 - 15 พฤศจิกายน จดหมายถึงลุงบุญมี เข้าฉายใน World Film Festival of Bangkok
19 - 28 พฤศจิกายน จดหมายถึงลุงบุญมี เข้าประกวดสาขาหนังสั้นที่เทศกาลหนัง Gijon ประเทศสเปน แต่ไม่ได้รับรางวัลใด ๆ
เดือนตุลาคม
1 ตุลาคม - มกราคม 2553 หลังจากตระเวณไปแทบทุกทวีปเมื่อเดือนที่แล้ว เดือนตุลาคมนี้ งานอินสตอลเลชั่นของอภิชาติพงศ์ ก็เดินทางไปเปิดนิทรรศการที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส เป็นเวลาสามเดือน
7 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน ความจริงงานของอภิชาติพงศ์ เคยไปแสดงที่ซิดนี่ย์มาแล้ว แต่ทางออสเตรเลียก็ยังสนใจที่จะเชิญงานของเขาไปอีก โดยหนนี้เชิญงาน A Letter to Uncle Boonmee ไปฉายนานร่วมเดือนที่ควีนส์แลนด์
7 - 18 ตุลาคม A Letter to Uncle Boonmee ไปฉายโชว์ในสายหนัง ที่เทศกาลหนัง Festival du Nouveau Cinema ที่เมืองมอนทรีล แคนาดา
15 - 25 ตุลาคม A Letter to Uncle Boonmee เข้าฉายในสาย Section Risks ซึ่งเป็นสายที่เขาบอกว่าจะเป็นงานที่กล้าหาญและท้าทาย มีการคิดค้นแบบใหม่ และบางครั้งงานจะอยู่เชื่อมกลางระหว่างหนังเรื่องกับสารคดี ที่เทศกาลหนังสารคดีลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
15 - 29 ตุลาคม A Letter to Uncle Boonmee ไปเข้าสาย Nuevos Caminos ที่เทศกาลหนัง Valdivia International Film Festival ประเทศสเปน
30 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน - A Letter to Uncle Boonmee ไปเข้าสาย Alternative Cinema ของเทศกาล AFI Fest ที่อเมริกา
31 ตุลาคม - 29 พฤศจิกายน คณะกรรมการจัดงานศิลปินร่วมสมัยโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น เตรียมจัดงาน CREAM - International For Arts and Media Yokohama 2009 โดยอภิชาติพงศ์ได้รับเชิญร่วมงานด้วย พร้อมกับศิลปินนานาชาติ ใงานนี้ เขาจะฉายหนัง My Mother's Garden ซึ่งเขาได้นำแอนิเมชั่นมาผสมผสานกับงานสารคดี เพื่อแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวและความรู้สึกของสิ่งมีชีวิตในเขตป่าร้อนชื้น ไม่ว่าจะเป็นกล้วยไม้ในบ้านแม่ที่ผลิบาน อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ |