สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
ประกาศรางวัลผู้ชนะประกวดโปรเจ็คหนังที่ฮ่องกง (Haf)
 

 

รายชื่อผู้ชนะรางวัลต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้          

รางวัล HAF Award มี 2 ร างวัล ให้กับหนังฮ่องกง และหนังประเทศอื่น ๆ นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ของเรื่องย่อได้อย่างดีที่สุด แต่ละรางวัลได้รับเงินรางวัลมูลค่า 13,000 เหรียญสหรัฐ หรือ 500,000 บาทสำหรับผู้ชนะจากฮ่องกง ได้แก่ The Messenger ของผู้กำกับ Clara Law   สำหรับหนังจากประเทศอื่น ๆ ผู้ชนะ ได้แก่ Hirokazu Kore-eda จากหนังเรื่อง Night-fragrant Flower

รางวัล Rome Film Festival Award ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 15,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 600,000 บาทไทย โดยจะมอบให้รางวัลกับโปรเจ็คหนังที่แสดงให้เห็นการคิดค้นใหม่ ๆ (innovation) จากฝีมือของผู้กำกับในเอเชีย ผู้ชนะได้แก่ The Good, the Bad and the Weird โดย คิมจีวุน  ผู้ทำหนังผีชุด Three ร่วมกับปีเตอร์ ชาน และ นนทรีย์ นิมิบุตร

รางวัลโพสต์โปรดักชั่นเทคนิคคัลเลอร์จากไทยเป็นผู้สนับสนุน มีสองรางวัล แต่ละรางวัลมีมูลค่า 13,000 เหรียญสหรัฐ หรือ 500,000 บาทไทย มอบให้กับโปรเจ็คหนังที่มีโอกาสจะร่วมทุนได้ โดยที่ผู้กำกับจะต้องมีผลงานมาแล้วอย่างน้อย 1 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นหนังเรื่อง หนังโฆษณา หนังสารคดี หรือรายการโทรทัศน์ และตั้งใจที่จะไปทำโพสต์โปรดักชั่นกับแล็บที่เมืองไทย ผู้ชนะ ได้แก่ The Messenger ของผู้กำกับ Clara Law

รางวัล Hong Kong Cyperport   สำหรับภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ในการเล่าเรื่อง และเทคนิคยอดเยี่ยม ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 13,000 เหรียญ  มี 2 รางวัล ผู้ชนะ ได้แก่ Now Showing  โดยแปงโฮชาง   และ Shuang Xiong Hui จาก JIa Zhange-ke

ทุนสำหรับช่างภาพเพื่อเข้าร่วมโครงการอบรมการถ่ายภาพยนตร์ที่เมืองไทย  มี 2 รางวัล ได้แก่ Nghiem-Min Nguyen-Vo จากภาพยนตร์เรื่อง Point of Reference (เวียดนาม) และ Francis Ng จากภาพยนตร์เรื่อง Bema's Tear (ฮ่องกง)

 

   

เจ้านกกระจอก โปรเจ็คหนังยาวเรื่องแรก ของ อโนชา สุวิชากรพงษ์ ผ่านฉลุยเข้าตลาดหนังฮ่องกง

  อัญชลี ชัยวรพร
  30 มกราคม 2550
   
 

 

ประกาศมาแล้วตั้งแต่เมื่อสองสัปดาห์ก่อน แต่รายละเอียดเพิ่งเข้ามาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็เลยไม่ได้มาบอกกล่าวกัน โปรเจ็คหนังยาวเรื่องแรกของ อโนชา สุวิชากรพงษ์ เรื่อง เจ้านกกระจอก หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Sparrow เป็นตัวแทนจากไทยเพียงเรื่องเดียวที่ผ่านการคัดเลือกเข้าตลาดหนังฮ่องกงปีนี้

ฟอรั่มสนับสนุนหนังฮ่องกง - เอเชีย เป็นโครงการที่คัดเลือกโปรเจ็คหนังทั่วเอเชีย ให้มาพบกับผู้ซื้อ ผู้ลงทุน หรือแม้แต่กับสื่อในตลาดค้าหนัง ปีนี้มีหนังที่ผ่านการคัดเลือกรวมทั้งสิ้น 25 โครงการ มีทั้งงานของผู้กำกับใหญ่ ๆ และผู้กำกับอินดี้   แต่ท่าทางผู้กำกับสาวของเราจะเจอหินมากกว่า

เจ้านกกระจอก เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มที่เผอิญพบกับอุบัติเหตุจนกลายเป็นอัมพาตจากความผิดพลาดของผู้เป็นบิดา เขาต้องพึ่งพิงรถเข็น แต่เรื่องราวมันลึกซึ้งยิ่งกว่านั้น เมื่อเด็กหนุ่มนั้นมีแต่ความเกลียดชังผู้เป็นบิดามาตั้งแต่เด็ก คนทั้งสองจะดำเนินชีวิตได้อย่างไรภายใต้ความเจ็บปวดลึก ๆ แบบนี้ โดยมีบุรุษพยาบาลเป็นบุคคลที่สาม  ที่แทรกเข้ามาท่ามกลางความเกลียดชังของบุคคลทั้งสอง อ่านเนื้อเรื่องอย่างละเอียดได้ที่นี่

คำบอกเล่าจากผู้กำกับที่เสนอกับทางฮ่องกงกล่าวไว้ว่า “ เจ้านกระจอกไม่ใช่บทภาพยนตร์เรื่องแรกของดิฉัน แต่เป็นหนังเรื่องแรก หนังเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับบุคคลอยู่ 3 คน คือ พ่อ ลูกชาย และบุรุษพยาบาล

ดิฉันตั้งใจว่า จะไม่ดำเนินเรื่องตามสูตรของหนังดราม่า ที่มักจะแบ่งเป็น 3 หรือ 5 องค์ แต่จะโต้แย้งว่า ลึกเข้าไปในแกนการเล่าเรื่องที่ง่าย ๆ แบบนี้้มันมีความขัดแย้งอยู่เยอะ และความขัดแย้งนี้แหล่ะที่จะสร้างจุดกระตุ้นให้กับเนื้อเรื่องของหนัง ”

“ดิฉันตั้งใจว่าจะพยายามรักษาเนื้อเรื่องของหนังให้นุ่มนวลและระมัดระวังอย่างถึงที่สุด แต่เพราะตัวเอกเป็นคนพิการ เขาจะถูกนำเสนอให้เหมือนจริงให้มากที่สุด ดิฉันไม่อยากสร้างงานออกมาให้ดูอ่อนไหว เพราะนี่ไม่ใช่หนังเมโลดราม่า ซึ่งมันจะผลักตัวละครตัวนี้ให้ดูแบน เขาเป็นคนที่หยิ่งผยอง และจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลด้วยความเคารพ หนังจะจับภาวะทางด้านจิตใจของตัวละครด้วย แต่ท้ายที่สุดแล้ว หนังเรื่องนี้จะนำเสนอเรื่องความหวัง ภาวะความเป็นมนุษย์ และเหตุผลที่เรายังคงต้องดำเนินชีวิตต่อไป”

เจ้านกกระจอก เป็นภาพยนตร์ประเภทดราม่า ถ่ายทำด้วยฟิลม์ 35 ความยาว 80 นาที ใช้งบการถ่ายทำประมาณ 13 – 14 ล้านบาท (ได้รับมาแล้ว 400,000 บาท) มีโปรดิวเซอร์ โสฬส สุขุม และจะอยู่ในสังกัดบริษัทหนังอินดี้รายใหม่ที่ชื่อ Electric Eel Films

ผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ของโครงการทั้งหมด จะเข้าร่วมในงาน  พบกับผู้ซื้อและผู้ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม ศกนี้ที่ฮ่องกง โดยมีรางวัลพร้องเงินสดหลายรางวัล  ปีที่แล้ว หนังเรื่อง Utopia ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ได้รับรางวัลไป อ่านรายละเอียดของปีที่แล้วได้ที่นี่

สำหรับโปรเจ็คที่ผ่านการคัดเลือกในปีนี้ทั้งหมดได้แก่

1. The 19th Step (Bharatbala) India
2. At The End of Daybreak (Ho Yuhang) Malaysia
3. Beautiful Kate (Rachel Ward) Australia
4. Bed (Kelvin Tong) Singapore
5. The Sparrow (Anocha Suwichakornpong) Thailand
6. The Dream ( CHANG Tso Chi ) Taiwan
7. Point of Reference (Nghiem-Minh NGUYENVO) Vietnam
8. Night-fragrant Flower (Kore-eda Hirokazu) Japan ผู้กำกับเจ้าของผลงานประทับใจของคนจำนวนมากที่ชื่อ Nobody Knows
9. Tokyo Sonata (Kurosawa Kiyoshi) Japan / Hong Kong / The Netherlands คนนี้ก็เจ้าตำรับหนังผีที่ชื่อ Pulse

10. Blown by The Typhoon (Ying Liang) China
ึ11. The Last Hour (Lou Ye) China
12. One Night in Beijing (Zhang Yuan) China ซางหยวนเป็นผู้กำกับจีนรุ่นที่ 6 เคยทำหนังเข้าประกวดตามเทศกาลหนังยักษ์ใหญ่มาหมดแล้ว ผลงานลือชื่อ คือ East Palace West Palace
13. Palace Days (Xu Jinglei) China
14. Shuang Xiong Hui (JIa Zhange-ke) China / Japan เขาคนนี้คืออภิชาติพงศ์ฉบับจีน
15. Tea of the Desert (Lu Yue) China คนนี้ก็ดังสุดฤทธิ์ ปีที่แล้วเพิ่งมี Summer Palace เป็นหนังเอเชียเรื่องเดียวที่ประกวดเมืองคานส์

16. Fading Away, My Love ( NOH Dong-seok) South Korea
17. The Good, the Bad and the Weird (Kim Jee-Woon) South Korea คิมจีวุน เป็นผู้กำกับเกาหลีที่ทำหนังผีชุด Three ชุดเดียวกับนนทรีย์ นิมิบุตร
18. Homecoming (E J –yong) South Korea คนนี้ก็ดังมาก เจ้าของผลงานเรื่อง Untold Scandal ที่ทำมาจาก Dangerous Liaison ฉบับเกาหลี ที่ให้พระเอก Winter Love Song เล่นหนังครั้งแรกนั่นน่ะ
19. A Thousand Winds (Kim Young-Nam) South Korea

20. The Journal of Moonlight and Morning (Yan Yan Mak) Hong Kong
21. Now Showing (Pang Ho Cheung) Hong Kong แปงโฮชาง เป็นผู้กำกับหนัง Isabella ที่เข้าประกวดเบอร์ลินเมื่อปีที่แล้ว
22. Romance of the Three Kingdoms: Red Rose and  White Rose (Mabel CHEUNG) Hong Kong
23. The Messenger (Clara Law) Hong Kong / Australia
24. Wee – Wee the Poop (Brian Tse) Hong Kong
25. Bema’s Tear (Francis Ng) Hong Kong / China

เรื่องย่อ

เจ้านกกระจอก เป็นเรื่องราวของหนุ่มวัยยี่สิบต้น ๆ ที่โชคชะตาเล่นตลก ทำให้เขาเกิดเป็นอัมพาตไปครึ่งตัว เอกตื่นนอนขึ้นมาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง คุณพ่อของเขาเดินเข้ามาในห้องด้วยสีหน้าเคร่งเครียด ก่อนจะบอกเขาว่า พรุ่งนี้คุณหมออนุญาตให้กลับบ้านได้

เอกกลับบ้านวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยบุรุษพยาบาลชื่อสอง สองคอยดูแลเอกอย่างใกล้ชิด อุ้มเขาขึ้นห้องนอน อาบน้ำให้ และแต่งตัวให้ ชีวิตประจำวันผ่านไปเช่นนี้โดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก สองพยายามพูดคุยกับเอก แต่เอกไม่ค่อยตอบกลับ พ่อก็เข้ามาคุยกับเอกอยู่เป็นระยะ แต่ดูเหมือนว่ามีกำแพงบางอย่างมาขวางกั้นบุคคลทั้งสองไว้

จนกระทั่งวันหนึ่ง สองหิ้วกรงนกกระจอกมาให้ เอกรับนกมาท่ามกลางความแปลกใจของสอง และที่สำคัญ เอกเริ่มพูดคุยกับเขา บางครั้งเขาก็ปล่อยเจ้านกกระจอกให้บินว่อนอยู่ในห้อง ก่อนที่จะจับมันเข้ากรงอีกครั้ง

สองถามเอกว่าอยากออกนอกบ้านบ้างไหม เอกชะงัก แต่ก็ตอบตกลงในที่สุด คนทั้งสองไปดูพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำด้วยกัน ที่นั่น … ท่ามกลางความมืดของห้อง สองเริ่มถามเอกถึงเรื่องอุบัติเหตุ และเอกเริ่มเล่าเรื่องราวให้สองฟังอย่างไม่คาดคิด เอกเล่าว่า คืนนั้นเขาและพ่อเพิ่งกลับจากกินข้าวเย็นที่บ้านลุง พ่อยืนยันที่จะเป็นคนขับรถ แม้ว่าคืนนั้นพ่อจะดื่มเหล้ามากไปกว่าปรกติ รถของคนทั้งสองกำลังติดไฟแดงอยู่ พอสัญญาณไฟเขียวเริ่มสว่างขึ้น รถคันสีขาวข้างหน้าพวกเขาเกิดไม่ยอมวิ่ง พ่อเปิดไฟหน้าเตือน รถคันขาวข้างหน้าจึงเริ่มวิ่งออกไป แต่อย่างช้า ๆ พ่อเปิดไฟอีกครั้งแล้วครั้งเล่า รถคันขาวเกิดหยุดลงอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย

จากนั้นรถสองคันก็เล่นเกมไล่ล่าอย่างไม่ยอมแพ้กัน ทันใดนั้นมอเตอร์ไซค์คันหนึ่งแล่นผ่านมา พ่อรีบคุมสถานการณ์ แต่ไม่อยู่ รถของพ่อชนข้างทาง ก่อนหงายหลังไปหลายตลบ เอกเล่าเรื่องเสร็จ ไฟในห้องพิพิธภัณฑ์ก็สว่างขึ้น ร่างกายของเขาสั่นไหว เอกบอกว่าเขาเกลียดพ่อ และเขาเก็บรักษาความเกลียดชังนี้มาตั้งแต่เด็ก โดยไม่รู้สาเหตุ และความเกลียดชังนี้ก็เริ่มฆ่าเขาเรื่อย ๆ

สองไม่ได้กล่าวอะไร เขาค่อย ๆ ประคองมือของสองไว้ เอกน้ำตาไหล

ที่บ้าน … พ่อนั่งอยู่ในสวนหลังบ้าน เขาสูบบุหรี่ มองตะวันตก ก่อนจะเดินไปที่ห้องของเอก ไม่มีใครอยู่ที่นั่น …. เขามองไปที่กรงนก

กรงว่างเปล่า .

 

 

 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.