สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
เด็กหอ ได้รับรางวัลหมีแก้ว จากเทศกาลหนังเบอร์ลินสายหนังเด็ก
  อัญชลี ชัยวรพร 17/2/50
   
 


Courtesy: Berlin International Film Festival


ประกาศผลมาแล้ว เด็กหอ ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในสายหนังเด็กจากเทศกาลหนังเบอร์ลิน ในกลุ่ม Generation K ซึ่งเป็นกลุ่มหนังสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี ผ่านด่านผู้เข้าแข่งขันจากนานาชาติทั้งหมด 14 เรื่อง

 


Courtesy: Berlin International Film Festival

 

คณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วยเด็ก 11 คน ให้เหตุผลที่เลือกหนังเรื่องนี้ว่า “ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอมิตรภาพของเด็กชายสองคนที่มาจากโลกที่แตกต่างกัน ด้วยวิธีการอันตื่นเต้นอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นภาพยนตร์ที่แสนจะพิเศษด้วยการแสดงอันน่าทึ่งจากนักแสดงของเรื่อง (“This film depicts with unbelievable tension how a close friendship is possible between two boys from different worlds. This film is very special, not least due to the convincing actors.”)

ยัสมิน อาหมัด ผู้กำกับ Mukhsin (Courtesy: Berlin International Film Festival )

 

ยัสมิน อาหมัด ผู้กำกับ Muskhin (ซ้ายมือ)
ภาพจากหนัง Mukhsin

 

สำหรับรางวัล Special Mention เป็นหนังมาเลเซีย เรื่อง Musksin ของยัสมิน อาหมัด ผู้กำกับหญิง (และเป็นเพื่อนซี้ของ บก. เอง : ) เป็นเรื่องราวความรักของเด็กสองคน สร้างมาจากประสบการณ์ในวัยเด็กของผู้กำกับเอง อันที่จริงแล้ว ผู้กำกับคนนี้ก็นำเรื่องราวในชีวิตของเธอมาทำเป็นหนังทุกเรื่อง เพียงแต่ Musksin เป็นเรื่องราวในวัยเด็กของเธอ

คณะกรรมการในสายนี้จะเป็นเด็ก อายุ 11- 14 ขวบ คัดเด็ก 11 คน  ที่ช่วยตอบแบบสอบถามจากการไปชมหนังในสายหนังเด็กที่เรียกว่า Generation    คำถามส่วนใหญ่จะเน้นให้เด็ก ๆ แสดงความคิดเห็นที่พวกเขามีต่อหนังในสายนี้  ทุกปีจะมีเด็กสนใจร่วมตอบแบบสอบถามนี้กว่า 2,500 คน  สำหรับคณะกรรมการในปีนี้ได้แก่ Can Deniz Binici, Sandra Botzet, Liliann Fischer, Ma?mouna Guirassy, Maxim Michaelis, Anita Oberlin, Mara Ohlhoff, Sammy Steward, Paul Trabhardt, Ngoc Diep Lila Tran and Moritz Wagner.

สำหรับในสายผู้ใหญ่ ปรากฎว่า ผลรางวัลสลับกัน หนังมาเลเซียเรื่อง Mukhsin ได้รับรางวัลกรังค์ปรีซ์ กับเงินรางวัล 7,500 ยูโร ขณะที่ “ เด็กหอ” ได้รับรางวัล Special Mention ไป

รางวัลกรังค์ปรีซ์ในสายนี้  มีชื่อว่า Grand Prix of the Deutsche Kinderhilfswerk (German Child Support Organisation) มูลค่ารางวัล 7,500 Euros

 

ทรงยศ สุขมากอนันต์ กับ น้องไมเคิล ที่เบอร์ลิน เมื่อวันจันทร์ที่ 12

ภาพ: จากเทศกาลหนังเบอร์ลิน

 

รายชื่อหนังทั้ง 14 เรื่อง ที่เข้าร่วมแข่งขันในสาย Generation K plus นี้ได้แก่ 

  • Silly’s Sweet Summer โดย Johannes Schmid เยอรมนี
  • เด็กหอ โดย ทรงยศ สุขมากอนันต์ ประเทศไทย
  • Kidz in da Hood โดย Ylva Gustavsson และ Catti Edfeldt สวีเดน
  • Ice Bar โดย Yeo In-gwang เกาหลีใต้
  • Iska’s Journey โดย Csaba Boll?k ฮังการี
  • Call Me Elisabeth โดย Jean-Pierre Am?ris ฝรั่งเศส
  • Crusade in Jeans โดย Ben Sombogaart เนเธอร์แลนด์ / เยอรมนี / ลักเซมเบิร์ก / เบลเยี่ยม
  • The Last Mimzy โดย Robert Shaye สหรัฐอเมริกา
  • Lotte from Gadgetville โดย Heiki Ernits และ Janno P?ldma, เอสโตเนีย / ลัตเวีย
  • Mukhsin โดย Yasmin Ahmad มาเลเซีย
  • Razzle Dazzle โดย Darren Ashton ออสเตรเลีย
  • Love & Dance โดย Eitan Anner อิสราเอล
  • Trigger โดย Gunnar Vikene นอรเวย์ / สวีเดน / เดนมาร์ก
  • U โดย Gr?goire Solotareff & Serge Elissalde ฝรั่งเศส

สำหรับคณะกรรมการในสาย International Jury มีทั้งสิ้น 7 ท่าน ได้แก่ Andreas Steinhofel (นักเขียนหนังสือเด็กชาวเยอรมัน) Sitora Alieva (ไดเร็คเตอร์ผู้จัดเทศกาลหนังของรัสเซีย Kinotavr คนนี้เคยเป็นกรรมการด้วยกัน เป็นแม่ของลูกชาววัยเดียวกับหนัง) Justin Johnson ปรแกรมเมอร์สายหนังเด็ก ประจำเทศกาลหนังลอนดอน Leontine Petit โปรดิวเซอร์หนังชาวดัทช์ และ Rexa Bagher ผู้กำกับสวีเดน

พิธีแจกเพิ่งจะดำเนินการอยู่ที่โรงหนัง Zoo Palast ซึ่งในอดีตจะเป็นโรงหนังที่ใหญ่ที่สุด และใช้เป็นที่ประกาศรางวัลใหญ่  ก่อนที่ทางเทศกาลจะเปลี่ยนมาใช้สถานที่ใหม่  พิธีประกาศตั้งแต่เวลา 15.30 น. (ตรงกับเวลา 21.30 น. บ้านเรา)

ก่อนหน้านี่ไม่กี่วัน ทรงยศ สุขมากอนันต์ เพิ่งได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม จากเทศกาลหนังภาพยนตร์ฟาทจ์ที่อิหร่าน

   

เด็กหอ เข้าประกวดเทศกาลหนังเบอร์ลิน สายหนังเด็ก

  อัญชลี ชัยวรพร
 

 

 

โปสเตอร์เซ็คชั่นหนังเด็กใน
เทศกาลหนังเบอร์ลินประจำปี 2550

 

 

นับจากการเปิดตัวในเมืองไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะนี้เป็นช่วงเดินสายต่างประเทศของ เด็กหอ ผลงานเดี่ยวของทรงยศ สุขมากอนันต์ จนจาระไนไม่หมดว่าไปไหนกันบ้าง ล่าสุด หนังก็ได้รับการคัดเลือกเข้าประกวดเทศกาลหนังเบอร์ลิน สายหนังเด็ก

หนึ่งในสายหนังของเทศกาลเบอร์ลิน ที่มีการก่อตั้งมานานร่วม 30 ปีแล้ว ภายใต้ชื่อสายว่า Kinderfilmfest (Kinder เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่าเด็ก) จนผู้ชมรุ่นแรก ผ่านพ้นช่วงของความเป็นเด็กและเยาวชนไปเป็น พ่อและแม่ อีกต่อหนึ่งแล้ว แต่หนังในสายนี้กลับถูกมองข้ามมาตลอด เพราะกลุ่มเป้าหมายไม่มีสิทธิ์มีเสียง

แต่ในปีหน้านี้ ทางเทศกาลหนังเบอร์ลินภายใต้การนำของไดเร็คเตอร์ ดีเตอร์ คอสลิคส์ ผู้กุมบังเหียนแห่งการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างให้กับเทศกาลช่วง 2- 3 ปีที่ผ่านมา ก็ได้ตัดสินใจให้ความสำคัญกับสายหนังนี้มากขึ้น โดยจัดให้มีการประกวดด้วยภายใต้ชื่อว่า 14plus ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา และในปีหน้านี้ ได้มีการ เปลี่ยนชื่อใหม่ในสายหนังเด็กทั้งหมดเป็น Generation พร้อมแบ่งสายประกวดออกเป็น Generation Kplus และ Generation 14plus

เด็กหอ ได้รับการประกวดเข้าในสาย Generation Kplus ซึ่งมีสิทธิ์จะคว้ารางวัล หมีแก้ว ( Crystal Bear) สำหรับภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุด มีอยู่ 3 รางวัล คณะกรรมการในสายนี้ประกอบด้วย หนู ๆ 11 คน ส่วนผู้ใหญ่จะตัดสินรางวัลกรังค์ปรีซ์ประเภทองค์การสนับสนุนเด็กเยอรมัน เป็นเงินมูลค่า 7,500 ยูโร แก่ภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในสาย kplus

ทางเทศกาลกล่าวแนะนำ เด็กหอ ไว้ดังนี้ Dek Hor (Dorm) a stylish thriller from Thailand , promise breathtaking excitement. In an explosive game of the senses, director Songyos Sukmakanan lets a ghost bring chaos to the strictly regimented life at boy’s boarding school. แปลได้ว่า เรื่องราวเขย่าขวัญเชิงสไตล์จากประเทศไทยเรื่องนี้ สร้างความตื่นเต้นจนแทบจะต้องกลั้นหายใจ ผู้กำกับทรงยศเล่นเกมกับ “ ความรู้สึก ” ได้อย่างน่าสนใจ เขาปล่อยให้ผีสร้างความวุ่นวายชุลมุนในหอพักของโรงเรียนที่เต็มไปด้วยความเข้มงวด

สำหรับหนังที่เข้าประกวดในสายเดียวกันนี้ประกาศมาแล้ว 7 เรื่อง เป็นหนังยาว 5 เรื่อง (รวม เด็กหอ) และหนังแอนิเมชั่นอีก 2 เรื่อง ดังต่อไปนี้

Lotte from Gadgetville by Heiki Ernits and Janno P?ldma ( เอสโตเนีย) เป็นแอนิเมชั่นที่ท้าทายจินตนาการทางภาพ บอกเล่าเรื่องราวในหมู่บ้านของมนุษย์ช่างคิดกับผลงานสุดเพี้ยนของพวกเขา ที่หมกมุ่นกับตนเอง หนังจะเข้าโรงฉายในเยอรมันหลังจากเทศกาลด้วย

U โดย Gr?goire Solotareff and Serge Elissalde (ฝรั่งเศส) แอนิเมชั่นอีกเรื่องที่เล่าเรื่องราวของเจ้าหญิงที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น โดยผูกมิตรกับตัวยูนิคอร์นพูดได้

Kidz in da Hood (Ylva Gustavsson and Catti Edfeldt ) จาก สวีเดน เป็นหนังเพลงที่เล่าเรื่องราวชีวิตอันยากลำบากของเด็กชายคนหนึ่ง เขาอพยพมาอยู่สวีเดนอย่างผิดกฎหมาย และได้นักดนตรีมาเป็นพ่ออุปถัมภ์ผู้มีนิสัยไม่เป็นไปตามขบถทุกรูปแบบ

Love & Dance ( อิสราเอล) โดย Eitan Anner หนังเต้นรำที่ถ่ายทอดภาพชาวรัสเซียผู้อพยพ ได้อย่างถูกต้องและสร้างความประหลาดใด

Trigger (สวีเดน นอรเวย์ และเดนมาร์ก) โดย Gunnar Vikene เล่าเรื่องการผจญภัยข้ามรุ่น โดยผ่านการแข่งม้า

Blode Muizel ( เยอรมัน) โดย Johannes Schmid ไม่มีรายละเอียด ยกเว้นว่าเป็นหนังที่เซ็นซิทีฟมาก

สำหรับคณะกรรมการผู้ใหญ่ ประกาศมาแล้วมีทั้งหมด 7 ท่าน ได้แก่ Andreas Steinhofel (นักเขียนหนังสือเด็กชาวเยอรมัน) Sitora Alieva ( ไดเร็คเตอร์ผู้จัดเทศกาลหนังของรัสเซีย Kinotavr คนนี้เคยเป็นกรรมการด้วยกัน เป็นแม่ของลูกชาววัยเดียวกับหนัง) Justin Johnson โปรแกรมเมอร์สายหนังเด็ก ประจำเทศกาลหนังลอนดอน Leontine Petit โปรดิวเซอร์หนังชาวดัทช์ และ Rexa Bagher ผู้กำกับสวีเดน

  : ) ...............  : )

 

 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.