สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

ประกาศมาแล้ว ใครจะมาสอนหนังในโครงการอบรมหนังปีนี้

  น้องแน็ก-ชาลี ได้รับการเสนอชื่อร่วม "ดาวรุ่งแห่งเอเชีย
   
 

         ในที่สุดก็ได้ทราบข่าวแล้วว่า ใครจะมาอบรมสอนหนังในโครงการ AFA ( Asian Film Academy) ปีนี้ ได้แก่ อิมควอนแต๊ก ผู้กำกับชื่อดังของเกาหลีใต้เขา มีหนังที่มีชื่ออย่าง Chunhyang เคยกวาดรางวัลไปทั่วทั้งคานส์ เบอร์ลิน จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง คณบดี ตำแหน่งเดียวกับที่หัวเฉี่ยวเฉี้ยนเคยได้รับมาแล้วเมื่อปีที่แล้ว

          ปาร์กกียอง ผู้กำกับอินดี้จากเกาหลีใต้ จะดำรงตำแหน่ง รองคณบดี เคยเป็นอาจารย์ผู้สอนมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ตำแหน่งสูงขึ้น แต่จะดูงานในแนวกว้าง ๆ เสียมากกว่า

          Darezhan Omirbayev ผู้กำกับจากคาซัคสถาน จะมาแทนตำแหน่งที่นนทรีย์ นิมิบุตรเคยได้รับเมื่อปีที่แล้ว กล่าวชื่อนี้หลายคนคงจำไม่ได้ แต่ถ้าบอกว่าเขาคือหนึ่งในผู้กำกับ 3 คนที่ร่วมทำหนังสั้นกับเทศกาลหนังจองจูชุด Talk to Her คงจะจำได้นะคะ อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเขาได้ที่นี่

          เบชังโฮ เป็นผู้กำกับชื่อดังในยุค 1980s ของเกาหลีใต้

          ส่วนสายตากล้องมี 2 คน คือ ทาคาม่า เคนจิ จากญี่ปุ่น มักจะรับโปรเจ็คหนังอินดี้เสียมากกว่า และปาร์กเคียง ถ่ายหนังเรื่อง L’Abri และ Desire เป็นต้น

   
ประกาศผลแล้ว ตัวแทนไทยไปเรียนหนังที่ปูซาน
  27 /06/06 อัญชลี ชัยวรพร
   
 
 
จารุภัทร ธนาฐิตากร ตัวแทนไทยไปเรียนหนังที่ปูซานปีนี้

          Gihun Song, ผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างประเทศของ Asian Film Academy กล่าวไว้ว่า ปีนี้มีผู้สมัครค่อนข้างมาก มาจากทั่วเอเชียเลย มีทั้งนักเรียนหนังหรือคนทำหนังรุ่นเยาว์ มีผู้สมัครรวมทั้งสิ้น 143 คน จากประเทศไทยมีจำนวน 15 คน ปีที่แล้วมีผู้สมัครจากไทยเพียงคนเดียวเท่านั้น พร้อมกันนี้ทาง AFA ก็ได้กล่าวขอบคุณ www.thaicinema.org ที่ช่วยเผยแพร่ข่าวมาตลอด : )

          “เราหวังว่าปีหน้าจะมีผู้สมัครจากเมืองไทยมากขึ้น” เขากล่าวทิ้งท้ายไว้

          หลังจากที่เราได้ลงข่าวไปเมื่อหลายเดือนก่อน เรื่องโครงการอบรมทำหนังกับผู้กำกับชั้นนำของเอเชียในเดือนตุลาคมนี้ ี้ในระหว่างเทศกาลหนังปูซาน หรือที่รู้จักกันดีในนามว่า Asian Film Academy นั้น ในที่สุดเราก็ได้ตัวแทนฝ่ายไทยแล้ว   

          จารุภัทร ธนาฐิตากร เป็นนักศึกษาปริญญาโทปี 2 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเลือกศึกษาวิชาเอก ศิลปะและการออกแบบสื่อ อายุ 27 ปี ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีประสบการณ์ทำหนังโดยตรง แต่เคยได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการเรือเยาวชน และเคยไปเรียนภาษาญี่ปุ่น

          จารุภัทรให้สัมภาษณ์ทางไกลกับ www.thaicinema.org ว่า เธอได้ทราบข่าวเรื่องทุนนี้จากเว็บไซต์รุ่นของภาควิชาการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยผู้ที่ไปโพสต์ลงข่าวคราวไว้ก็คือ Krittanut Legwuttigarn หรือน้องโน้ต ตัวแทนไทยที่ได้รับทุนไปเข้าอบรมเมื่อปีที่แล้วนี้เอง

          จารุภัทร หรือน้องโบ ไม่เคยมีพื้นฐานความรู้ทางการผลิตภาพยนตร์มากนัก เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาการสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิชาเอกวิทยุกระจายเสียง ได้ลงวิชาการใช้กล้องบ้าง เฉพาะวิชาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อโทรทัศน์

          ตัวแทนไทยคนล่าสุดกล่าวว่า เธอไม่เคยทำหนังมาก่อน จนกระทั่งมาลงวิชา Audio & Visual เมื่อเทอมที่แล้ว หนึ่งในวิชาระดับปริญญาโทที่เธอกำลังศึกษาอยู่ หนังสั้นที่เธอทำร่วมกับเพื่อนอีก 2 คนมีชื่อว่า “ ใคร ฆ่าประชา ” มีความยาวเพียง 10 นาที โดยใช้กล้องดิจิตัลที่พากเพียรจากการทำงานเป็นล่ามมาซื้อในราคาเพียง 25,000 บาทเท่านั้น

          “ ใคร ฆ่าประชา ” ดูเผิน ๆ แล้วจะเป็นเรื่องราวการสืบสวนสอบสวนของยามประจำหมู่บ้าน 2 คน ที่ไปพบศพนายประชานอนอยู่ แทนที่จะรอให้ตำรวจมาเก็บหลักฐานและสืบสวนคดี ยามทั้งสองกลับยึดโน้ตบุ๊คของนายประชาไปเพื่อทำการสืบคดีเอง หนังได้สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย แต่ท้ายที่สุดก็พบความจริงบางอย่างจากข้อมูลในโน้ตบุ๊คที่นายประชาทิ้งไว้นั่นเอง แต่สิ่งที่จารุภัทรและเพื่อน ๆ ต้องการเสนอให้เห็นอันตรายของสื่อ (ดูโหลดคลิปได้ที่ http://pracha.netimage.co.th/)

          หนังเรื่องนี้ใช้เงินลงทุนไม่ถึง 500 บาท

          จารุภัทรกล่าวว่า ปรกติเป็นคนดูหนัง แต่ก็เป็นหนังทั่วไป เช่น หนังไซไฟบ้าง หนังแอ็คชั่นบ้าง ไม่ชอบดูหนังอาร์ต เพราะดูแล้วก็ไม่เข้าใจนัก

          ในการสมัครเพื่อชิงทุนครั้งนี้ น้องโบกล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องส่งผลงานเป็นหนังก็ได้ แต่เผอิญเธอมีผลงานอยู่เรื่องหนึ่งพอดี เธอได้เขียนแนะนำตัวเพียง 2 หน้าตามที่ได้กำหนดไว้

          อย่างไรก็ตาม หลังจากการซักถาม เห็นได้ชัดว่าจารุภัทรมีจุดเด่นอย่างหนึ่งที่ทำให้เธอชนะคู่แข่งไปได้หลายคน เธอเป็นคนถนัดทางด้านเสียง วิชาเอกก็เลือกเรียนด้าน soundscape คือ การศึกษาเสียงที่อยู่รอบ ๆ ตัว ที่เราได้ยินทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนไปตามยุคสมัยด้วย และในใบแนะนำตัวของเธอก็ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการจะเน้นเรื่องเสียงในหนัง พร้อมทั้งตั้งคำถามว่าทำไมหนังส่วนใหญ่จึงเน้นภาพมากกว่าเสียง

          จารุภัทรไม่ได้ตั้งความหวังมากนักว่ากลับมาจะได้ทำงานทางด้านหนังโดยตรง แต่ถ้ามีโอกาส ก็อยากจะเน้นในเรื่องการทำเสียงของภาพยนตร์มากกว่าส่วนที่เป็นภาพ

เว็บหนัง "ใครฆ่าประชา" http://pracha.netimage.co.th/

เว็บสาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อที่เธอกำลังศึกษาอยู่ http://www.mediaartsdesign.org/

 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.