สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

โปรเจ็คหนังของเอกชัย วิศิษฐ์ และพิมพกา ได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Open Doors

  22 มิถุนายน 2549
   
 

มอสโคว์ / อัญชลี ชัยวรพร  ในที่สุด 3 โปรเจ็คหนังไทยได้คัดเลือกเข้าโครงการ Open Doors ของเทศกาลหนังโลคาร์โน่ที่สวิสเซอร์แลนด์ ร่วมกับหนังอาเซียนอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 11 เรื่อง ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ สิงคโปร์

          สามโปรเจ็คหนังไทยที่ว่า ได้แก่

          Pleasure Factory ของเอกชัย เอื้อครองธรรม ผลิตในนามของ Spice Apple Films

          Armful ของวิศิษฐ์ ศาสนเที่ยง ผลิตในนามของ One Ton Cinema ได้ข่าวมาว่าจะใช้ทีมงานการถ่ายทำจากบริษัทโฆษ ณาชื่อดัง Film Factory ของไทยที่ผู้กำกับชื่อดังทำงานอยู่

          ทั้งสองโปรเจ็คถือว่าเป็นโครงการร่วมระหว่างไทยและสิงคโปร์ ส่วนโปรเจ็คที่เป็นของไทยล้วน ๆ ได้แก่ The Island Funeral ของพิมพกา โตวิระ เจ้าของผลงาน คืนไร้เงา ที่ตัดสินใจหันมาทำงานอินดี้อย่างเต็มรูปแบบ ผลิตในนามของบริษัทอินดี้ที่ชื่อ Soapbox งานชิ้นนี้เป็นคนละเรื่องกับสารคดีที่เธอกำลังทำอยู่ (สารคดีเรื่องนั้นชื่อ The Truth Be Told – รายละเอียดของเรื่องนี้ยังไม่ควรเปิดเผยในตอนนี้ )

          นอกจากงานจากไทยแล้ว ยังมีผลงานอาเซียนเรื่องอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้

อินโดนีเซีย

3 Days to Forever โดย Riri Riza หนึ่งในสองผู้กำกับรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นยุค post -revival ของหนังอินโดนีเซีย (อุตสาหกรรมหนังอินโดนีเซียตายไปนานสิบปีตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1980 – 1990) มึผลงานสำคัญอย่าง Eliana Eliana และ Gie

The Photograph โดย Nan Achnas ผู้กำกับคนสำคัญยุคใหม่อีกคนของอินโดนีเซีย เป็นผู้หญิงเก่ง ตัวจริงเป็นหัวหน้าสาขาภาพยนตร์ที่สถาบันสอนหนังที่ดีที่สุดในอินโดนีเซีย (IKJ) The Photograph เป็นผลงานเก่าที่เธอพยายามทำมานานแล้ว ตั้งแต่ตอนที่ผู้เขียนยังทำงานวิจัยที่อินโดนีเซียอยู่ แต่เธอติดปัญหาเรื่องเงินทุนตลอด ถ้าจำไม่ผิด รู้สึกว่าจะเป็นเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่รู้ว่าตัวเองกำลังจะตาย และเลือกที่จะใช้ชีวิตก่อนตายได้อย่างไร เป็นผลงานเรื่องที่ 4 ก่อนหน้านั้นเธอมีผลงานชื่อดังอย่าง Whispering Sands

Jermal โดย Ravi Bahrwani ยังไม่มีข้อมูลค่ะ

มาเลเซีย

The Dog Man Chronicle ของ James Lee หนึ่งในผู้กำกับอินดี้เชื้อสายจีนของมาเลเซีย งานชิ้นหนึ่งของเขาเรื่อง The Beautiful Watching Machine ได้รับรางวัลนักวิจารณ์ยอดเยี่ยม (fipresci) จากเทศกาลหนังกรุงเทพเมื่อปี 2005

Jakun โดย Saw Teong Hin เป็นผู้กำกับโฆษณาที่ถูกทาบทามให้มาทำหนังมหากาพย์ของมาเลเซียที่ชื่อ Princess of Mount Ledang เป็นหนังที่ราคาแพงที่สุด แต่ตอนนั้นผู้กำกับถูกควบคุมภายใต้คำสั่งของโปรดิวเซอร์ ซึ่งเป็นนางเอกของเรื่องด้วย ก็เลยทำให้หนังไม่ดีอย่างเต็มที่ เป็นหนังมาเลเซียเรื่องแรกที่ได้รับการคัดเลือกเข้าไปฉายในเวนิซ

Living quietly ของ Tan Chui Mui เป็นผู้กำกับหญิงที่ก้าวมาจากการทำหนังสั้นเป็นหลัก เป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัย Multimedia ของมาเลเซีย และเคยเป็นโปรดิวเซอร์หนังอินเดียเรื่องแรกของมาเลเซีย (ยุคใหม่) ที่ชื่อว่า The Gravel Road

สิงคโปร์

132 โดย Royston Tan ผู้กำกับรุ่นใหม่ที่สำคัญที่สุดของสิงคโปร์ นับถืออีริค คู ก้าวมาจากการทำหนังสั้น มักทำหนังเสียดสีสังคมสิงคโปร์ อาทิเรื่อง เซ็นเซ่อร์ เป็นต้น เป็นโปรเจ็คเดียวกับที่เคยเข้า HAF ที่ฮ่องกงเมื่อต้นปีนี้ และได้รับรางวัล HAF Award หนังที่นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ของเรื่องย่อได้อย่างดีที่สุด

Maid to Order เป็นผู้กำกับหนังเรื่อง Perth หนังที่คนสิงคโปร์ชอบมาก เคยได้เลือกเข้าประกวด สายนักวิจารณ์ในเทศกาลหนังกรุงเทพปี 2005

          โปรเจ็คทั้งหมดผ่านด่านจากผู้ส่งทั้งหมด 50 เรื่อง เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว ทั้งผู้กำกับและโปรดิวเซอร์จะไปร่วมงานพูดคุยกับบริษัทร่วมลงทุนชาติอื่น ๆ โดยเฉพาะนักลงทุนจากยุโรป โดยผู้ได้รับการคัดเลือกจะเข้าร่วมโครงการนานหนึ่งสัปดาห์ หลังจากนั้นแล้วจะมีหนังสองเรื่องได้รับการคัดเลือกชนะเลิศ รับรางวัลมูลค่า 5,000 สวิสฟรังค์ และหนังอีกเรื่องจะได้รับรางวัล 10,000 ยูโร

          โครงการ Open Doors เปิดโอกาสให้ผู้กำกับจากทั่วโลกได้พบปะกับโปรดิวเซอร์เพื่อร่วมการลงทุน ลักษณะเช่นเดียวกับโปรเจ็ค PPP (Pusan Promotion Plan) ของเทศกาลหนังปูซาน และโครงการ HAF ที่ตลาดหนังฮ่องกง ต่างกันแต่เพียงว่า Open Doors จะกำหนดประเทศที่เปิดรับโครงการในแต่ละปีแตกต่างกันไป อาทิเช่น ปีที่แล้วเปิดรับโครงการจากตูนิเซีย มอร็อคโค และอัลจีเรีย
          ปีนี้เป็นครั้งแรกที่ทางโครงการกำหนด
ให้มีการเปิดรับโครงการจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ หลังจากนี้แล้วก็จะกลับไปเน้นภูมิภาคตะวันออกกลางกับประเทศอย่างซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิสราเอล อิรัก ปาเลสไตน์

 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.