สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

ประกาศแล้ว อินวิซิเบิลเวฟส์   คำพิพากษาของมหาสมุทร ได้เข้าประกวดเบอร์ลิน

  20 ธันวาคม 2548
  อัญชลี ชัยวรพร
  ลียองเอ จากแดจังกึมเป็นกรรมการตัดสินสายประกวดเบอร์ลิน
  Invisible Waves ที่เบอร์ลิน
  เสียงจากนักวิจารณ์ที่เบอร์ลิน
   
 
โบรชัวร์ของฟอร์ติสสิโม่/Fortissimo จากคานส์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ได้รับข่าวประกาศจากเบอร์ลินตั้งแต่เมื่อคืน 1 ทุ่มแล้วล่ะ  แต่ช่วงนี้กำลังยุ่ง ๆ กับสารคดีเอสตัวเนีย  อีกทั้งสกู๊ปต้องค้นเยอะ  ก็เลยมาอัพเดทตอนเช้าี้ดีกว่า

ท่ามกลางการรอคอย ในที่สุด เทศกาลหนังเบอร์ลินซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 56 ก็ได้ประกาศรายชื่อหนังประกวดชุดแรก รวมถึง Invisible Waves ของไทยด้วย  โดยเทศกาลหนังจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-19 กุมภาพันธ์

Invisible Waves หรือในชื่อไทยว่า อินวิซิเบิลเวฟส์ คำพิพากษาของมหาสมุทร เป็นความร่วมมือระหว่างเนเธอร์แลนด์ ไทย ฮ่องกง และเกาหลีใต้

อินวิซิเบิลเวฟส์   คำพิพากษาของ มหาสมุทร   เป็นหนังไทยเรื่องแรกในรอบเกือบกึ่งศตวรรษ หรือ 45 ปีที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสายประกวดที่เบอร์ลิน ก่อนหน้านี้มีหนังไทยที่เคยเข้าสายประกวดที่เบอร์ลินเพียง 3 เรื่องได้แก่ หนังสั้นของรัตน์ เปสตันยีเรื่อง นิ้วเพชร (2502)

อินวิซิเบิลเวฟส์   คำพิพากษาของมหาสมุทร เป็นผลงานเรื่องที่ 5 ของเป็นเอก รัตนเรือง  มีคริสโตเฟอร์ ดอยล์เป็นช่างภาพ  นำแสดงโดยอาซาโน่ ทาดาโนบุ และ Gang Hye-jang นางเอกเกาหลีจากภาพยนตร์เรื่อง Old Boy

 

 

อินวิซิเบิลเวฟส์   คำพิพากษาของมหาสมุทร เป็นการเดินทางกลับไปเบอร์ลินอีกครั้งของผู้กำกับไทยชื่อดังเป็นเอก รัตนเรือง  หลังจากที่เคยสร้างปรากฎการณ์ให้กับหนังไทยเมื่อปี 2540  โดยนำผลงานเรื่องแรกของเขา ฝันบ้าคาราโอเกะ   และเป็นหนังไทยเรื่องแรก (ในตอนนั้น) ในรอบสิบกว่าปีี่ีีที่ไปฉายโชว หลังจากที่ไม่มีหนังไทยเดินทางไปที่นั่นอีกเลยตั้งแต่ปี 2524-2526 (เทศกาลหนังเบอร์ลินครั้งที่ 31-33)  ตอนนั้นมีีหนังไทยจำนวนหนึ่งไปฉายโชว์ได้แก่ เทพธิดาโรงแรม ทองพูนโคกโพ ราษฎร์เต็มขั้น  คนภูเขา ไผ่แดง แผลเก่า และลูกอีสาน

เขากลับไปเบอร์ลินอีกครั้งด้วยผลงานเรื่องที่สอง เรื่องตลก 69  ก่อนที่จะนำผลงานเรื่องที่สาม มนต์รักทรานซิสเตอร์ เป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ได้เข้าในสาย Directors' Fortnight ที่คานส์ (2545) และ เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล หนังไทยเรื่องแรกที่ไปประกวดที่เวนิซ (2547)

เ็ป็นเอก และต๋อง โปรดิวเซอร์ เมื่อนำ ฝันบ้าคาราโอเกะ ไปฉายโชว์ที่เบอร์ลิน เมื่อปี 2540 สังเกตุได้จากโปสเตอร์  
ในเทศกาลหนังเบอร์ลินปี 1981 ภาพยนตร์ไทยเรื่อง หลวงตา ของเพิ่มพล เชยอรุณ ได้เข้าสายประกวดเช่นกัน โดยท่านมุ้ย มจ . ชาตรีเฉลิม ยุคล ได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินด้วย ดังหลักฐานที่ได้ต่อไปนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สำหรับภาพยนตร์ขนาดยาว หนังไทยที่เคยเข้าสายประกวดที่นี่ มีดังต่อไปนี้

นิ้วเพชร (หนังสั้น) โดยรัตน์ เปสตันยี ผู้ชนะรางวัลได้แก่ White Wilderness (สหรัฐ)

นางทาษ โดย พระองค์เจ้าอนุสรณมงคลกาล ผู้ชนะรางวัล หมีทองคำ ได้แก่ El Lazarillo de Tormes (สเปน) และหมีเงิน ได้แก่ A Bout de Souffle ของป๋าฌองค์ ลุค โกดาร์ด หนังตำนานยุคแห่งการต่อต้านสังคม เพราะฉะนั้นให้เขาชนะไปเถิด

แพรดำ โดยรัตน์ เปสตันยี ผู้ชนะหมีทองคำได้แก่ La Notte (อิตาลี) หมีเงินได้แก่ Das Wunder des Malachias (เยอรมนี)

หลวงตา โดย เพิ่มพล เชยอรุณ ผู้ชนะหมีทองคำ ได้แก่ Deprisa, Deprisa ของผู้กำกับตำนานสเปนแห่งยุคคาร์ลอส ซาร่า(สเปน) หมีเงินได้แก่ หนังอินเดียเรื่อง Akaler Sandhane

Invisible Waves เป็นหนังไทยที่เข้าประกวดในรอบ 25 ปีค่ะ                          

 

 

 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.