ได้ข่าวลือจากคนอื่นๆหลายคนบอกว่า เฉิ่ม เป็น หนังที่เเฟนหนังชอบมากที่สุดในเทศกาล ถ้าหากว่ามีรางวัลผู้ชม มิวะคิดว่า เฉิ่ม น่าจะได้เเล้ว เเต่น่าเสียดายไม่มีรางวัลเเบบนี้ด้วย
ใน Q and A ยังมีบริษัทหนังจากญี่ปุ่นคนหนึ่งลุกขึ้นมาประกาศว่า กำลังติดต่อเจรจาอยากได้หนังเรื่องนี้อยู่
นอกจากช่วงถามตอบแล้ว มีคนวิ่งเข้ามาขอลายเซ็นกันอีก ไม่แตกต่างจากที่อื่น
ปรกติทางเทศกาลจะเชิญตัวแทนจากหนังได้เพียงเรื่องละคนเท่านั้น แต่ปีนี้มีคนไทยไปเยอะมาก เพราะไปร่วมงานในส่วนตลาดหนังและงานสัมนา
คนไทยส่วนหนึ่งไปร่วมงานในฐานะตัวแทนจากสมาพันธ์ภาพยนตร์และสมาคมผู้กำกับ ทราบมาว่าทางสมาพันธ์ภาพยนตร์กับสมาคมผู้กำกับได้จัดต่อรองให้ จนเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 25,000 บาท อันนี้เป็นตัวเลขโดยประมาณนะคะ
สำหรับผู้กำกับที่ไปร่วมงานนั้น จากข้อมูลที่ได้มาก็มี พจน์ อานนท์ เฉลิม วงศ์พิมพ์ ทศพล (นายอโศก กับ นส. เพลินจิต) บัณฑิต ทองดี พรชัย หงษ์รัตนาภรณ์ (ทวารยังหวานอยู่) สุเทพ ตันนิรัตน์ (องคุลีมาล และนิทานเวตาล) ภาคภูมิ วงศ์จินดา (รับน้องสยองขวัญ) เรียว กิตติกร (อหิงสา) สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ (วัยอลวน 4 : ตั้มโอ๋รีเทิร์น) ยงยุทธ ทองกองทุน และ มล . มิ่งมงคล โสณกุล เป็นต้น
|
|
บูธ RS ในงาน |
จางอี้โหมวในฐานะกรรมการตัดสิน |
นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากไทยไปตั้งบูธในตลาดหนัง 4 แห่ง ได้แก่ สมาพันธ์ภาพยนตร์ไทย บริษัทโมโนฟิลม์ อาร์เอส และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรซอฟท์แวร์แห่งชาติ ผู้จัดงาน TAM หรือที่รู้จักกันดีในนามของ Thai Animation & Multimedia
แม้จะมีหนังไทยที่ฉายในเทศกาลเพียง 2 เรื่อง สำหรับหนังที่จองคิวฉายในตลาด ก็ยังมีเรื่องอี่น ๆ อีก ได้แก่ ทวารยังหวานอยู่ เสือคาบดาบ และ อหิงสา จัดฉายที่โรงหนัง Virgin Toho Cinemas ชื่อ Toho เป็นค่ายหนังใหญ่ของญี่ปุ่น ชอบทำหนังตลาดเป็นหลัก
มีงานเสวนาด้วย และคนไทยก็ได้เข้าร่วมด้วยเช่นกัน
ขอรายงานคร่าว ๆ แต่เพียงเท่านี้ เพราะเพื่อนของเราอาจจะเขียนบทความลงหนังสือต่อ ส่วนจะลงเล่มไหน จะบอกกล่าวอีกทีค่ะ |