สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

อบรมโปรดิวซ์ภาพยนตร์ระดับมืออาชีพ

  30 ตุลาคม 2548
 

 

 เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ เมื่อวันที่ 14-24 ตุลาคมที่ผ่านมา มีีกิจกรรมน่าสนใจหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดประเภทภาพยนตร์ตามกลุ่มผู้ชม ฉายหนังสั้นสึนามิ  หลายกิจกรรมจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนังบ้านเราในอนาคต อาทิ การจัดประเภทภาพยนตร์ตามกลุ่มผู้ชม หรือการโปรดิวซ์หนังอย่างที่เห็นในโปรเจ็ค โอ ซุด

          โปรเจ็ค โอ ซุค (“Produire au Sud”/Producing in the South) เกิดจากความร่วมมือของเทศกาล
หนังเมืองนองค์ที่ฝรั่งเศส เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ และสถานทูตฝรั่งเศส

          โครงการดังกล่าวจะฝึกอบรมความรู้ความเข้าใจและเปิดโอกาสให้กับผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ในเอเชียได้เข้าอบรมเชิงปฎิบัติการ 4 วัน เพื่อเรียนรู้ทุกมุมมองเกี่ยวกับการร่วมสร้าง  ทั้งประเด็นกฎหมายตลอดจนกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปจนถึงเรื่องเงินทุนและการทำธุรกิจ  นอกจากนั้นยังจะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความเห็นและรับคำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างภาพยนตร์จากยุโรป  โดยคำแนะนำจะรวมถึงบทภาพยนตร์ การหาแหล่งเงินทุนและตลาด

          ตรงนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ เพราะปัญหาอันดับหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนังบ้านเราู่ตรงนี้  เราขาด
โปรดิวเซอร์ระดับอินเตอร์  การโปรดิวซ์หนังบ้านเราหรือแถบอาเซียนนี้เอง ยังคงมีลักษณะเป็นพื้นบ้าน ไม่ได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นอาชีพอย่างแท้จริง เราเคยมีคุณดวงกมล ลิ่มเจริญ แต่ก็ด่วนจากโลกไปเสียไว ด้วยเหตุผลนี้  ทำให้ผู้กำกับอินดี้หลายคนต้องผันตัวเองมาทำหน้าที่โปรดิวซ์หนังด้วย อย่างอภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุลหรือพิมพกา โตวิระเอง

          ผู้เข้าร่วมโครงการในปีนี้มีทั้งสิ้น 10 โครงการจากประเทศต่าง ๆ ดังนี้

         พม่า จากภาพยนตร์เรื่อง The Vicious Cycles
         มาเลเซีย จากภาพยนตร์เรื่อง Ostrich Granny
         เวียดนาม จากภาพยนตร์เรื่อง The Road Back
         สิงคโปร์ จากภาพยนตร์เรื่อง Fallen Aspara และ Forgotten Tears
         ศรีลังกา จากภาพยนตร์เรื่อง Beyond the Obvious
         อินโดนีเซีย จากภาพยนตร์เรื่อง Api Asmara
         ไทย มี 3 โครงการ ได้แก่ North to South, East to West ของชลิดา เอื้อบำรุงจิต จากมูลนิธิหนังไทยเป็นโปรดิวเซอร์ พิมพกา โตวีระ ( คืนไร้เงา ) เป็นผู้กำกับ

         Dreaming of Mermaid ของลี ชาตะเมธีกุล มือตัดต่อให้หนังหลายเรื่อง อาทิ สุดเสน่หา คืนไร้เงา รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ และผู้กำกับคือเอกฤทธิ์เฉลิม กัลยา ณ มิตร

         A Moment In June ของ ณต ทองศรีพงษ์เป็นโปรดิวเซอร์ และโอ ณัฐาภรณ์ เป็นผู้กำกับ

         หลังจากการสัมมนาจะคัดเลือกโครงการ 3 เรื่องไปเข้าร่วมกับเทศกาลหนังเมืองน็องค์ในเดือนหน้านี้ ผู้ได้รับการคัดเลือกประจำปีนี้มาจากมาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย (เรื่อง A Moment In June)

         ท้ายนี้ อยากฝากบอกน้อง ๆ ว่าควรจะให้ความสนใจกับเทศกาลหนังในบ้านเราด้วย งานนี้มีเฉพาะบางกอกโพสต์ นักเขียนชาวอินเดีย และ Thaicinema.org เท่านั้นที่เข้าร่วม เข้าทำนองใกล้เกลือกินด่างแท้ ๆ

 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.