สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

เป็นเอกในสิงคโปร์                               

  25 กันยายน 2548
   
 

ตามที่ได้แจ้งแล้วว่า จะมีการรายงานสกู๊ปข่าวพิเศษเรื่องเป็นเอกในสิงคโปร์ ซึ่งไปร่วมงานจัดพิเศษ คือ 5 th Asian Film Forum: Focus on Asian Cinema โดยได้จัดฉายหนังของเป็นเอกทั้ง 4 เรื่อง คือ ฝัน บ้า คาราโอเกะ  เรื่องตลก 69   มนต์รักทรานซิสเตอร์ และ Last Life in the Universe ควบคู่ไปกับหนังของอีริค คู ผู้กำกับคนสำคัญที่สุดของสิงคโปร์เขา

          แต่เนื่องจากเว็บไซต์เรานำเสนอเกี่ยวกับหนังไทย เพราะฉะนั้นเราจะขอกล่าวเฉพาะหนังไทยเท่านั้น ผู้กำกับของเราได้ไปร่วมงานตั้งแต่กลางงานแล้ว   และเข้าร่วมงานเสวนาใน 2 งานนี้

คือ Focus on Pen-ek Rattanaruang (โฟกัสที่เป็นเอก รัตนเรือง) และ Transnational Cinema ( หนังข้ามชาติ)

          ปรากฏว่าคนเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง การเสวนาส่วนใหญ่จะเป็นการตอบข้อซักถามต่าง ๆ เช่นว่า

 

 

ชอบหนังเรื่องไหนมากที่สุด
เป็นเอก : ตอบยาก เพราะทำแต่ละเรื่องก็จะได้บทเรียนใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ส่วนใหญ่พอทำหนังเสร็จ เราก็จะซ่อนจุดบกพร่องของเราเสมอ

ทำไมจึงมาทำหนังเรื่องแรกตอนอายุสามสิบกว่าแล้ว
เป็นเอก : ไม่แก่หรอก ผู้กำกับอินเดียคนหนึ่งทำหนังตอนอายุ 37 ปี จริง ๆ แล้วก่อนหน้านั้นผมอยากเป็นนักบอล ผมมีโอกาสได้มาทำหนังเพราะบังเอิญ

ปรกติเขียนบทเอง ทำไมมาเปลี่ยนตั้งแต่เรื่องที่ 3 เป็นต้นมา
เป็นเอก : เปลี่ยนตั้งแต่เรื่องที่ 3 (มนต์รักทรานซิสเตอร์) เพราะรู้สึกเบื่อ เขียนเองมันเริ่มซ้ำ เรื่องที่ 4 ( รักน้อย หน่อยนิด มหาศาล) กับเรื่องที่ 5 ( Invisible Wave) ให้นักเขียนรุ่นใหม่เขียน (ปราบดา หยุ่น) แล้วเขียนได้ดีกว่าผมอีก

ทำไมหนังที่เขียนบทเองถึงเน้นบทผู้หญิง
เป็นเอก : ในไทยหานักแสดงหญิงที่มีฝีมือในการเล่นหนังได้ง่ายกว่านักแสดงชาย นักแสดงชายส่วนใหญ่จะมาโชมาก (macho)

หนังบางเรื่องได้รับอิทธิพลจากรัตน์ เปสตันยีหรือเปล่า
เป็นเอก : ผมดูหนังคุณรัตน์แค่เรื่องเดียว คือ โรงแรมนรก เรื่องอื่น ๆ ผมไม่ได้ดู ผมคิดว่ามันอาจจะเป็นเหตุบังเอิญ เคยมีคนบอกผมเหมือนกันว่างานของผมคล้ายงานของท่านมุ้ย

ตอนนี้คุณกลายเป็นผู้กำกับระดับนานาชาติแล้ว การทำงานตอนนี้ผิดกับตอนทำหนังเรื่องแรกที่คุณเป็นเพียงผู้กำกับไทยคนหนึ่งอย่างไร
เป็นเอก : มันยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเราต้องหาสัญลักษณ์ของตัวเอง แต่ผมไม่มียี่ห้อ ก็เลยทำงานได้หลายรูปแบบ และสามารถทดลองทำได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น

ทัศนะเกี่ยวกับวงการหนังไทย
เป็นเอก : เรามีผู้กำกับที่สามารถทำหนังดีได้ 10 เรื่อง ไม่ใช่ 60 เรื่อง ถ้าหนังตลกได้เงินดี เราก็จะเห็นหนังตลกเพิ่มขึ้นมาอีก 25 เรื่อง ซึ่งไม่ตลกเลย

 

 

ทำไม Invisible Wave ถึงช้า
เป็นเอก : ผมไม่ใช่ผู้กำกับที่ทำหนังเสร็จเรื่องหนึ่ง แล้วก็ผลักตัวเองให้ทำอีกเรื่องได้ทันที

ทำงานกับคริส ดอยล์เป็นอย่างไร
เป็นเอก : ก็มีความไว้วางใจมากขึ้นและความยุ่งยากน้อยลง แต่บางครั้งก็ยังเถียงกันอยู่ แต่ผมคิดว่าคริสไว้ใจผมมากขึ้น

เรื่องต่อไปเป็นเรื่องอะไร
เป็นเอก : จะเป็นเรื่องของความรัก เป็นหนังเล็ก ๆ ถ่ายทำแค่ 18 วัน

          ก็พอหอมปากหอมคอ งานเสวนาจริง ๆ นานเกือบถึงสองชั่วโมง แต่เราคงลงให้รายละเอียดทั้งหมดไม่ได้ เอาแค่นี้ก่อนก็แล้วกันค่ะ

          จริงๆ แล้ว ชลิดา เอื้อบำรุงจิต จากมูลนิธิหนังไทย ก็พูดคุยเรื่องการอนุรักษ์ภาพยนตร์ หนังอินดี้ในประเทศไทยด้วย แต่คิดว่าพวกเรารู้ ๆ กันหมดแล้ว คงไม่ต้องเอามาเล่าต่อก็แล้วกัน ส่วนผู้เขียนโดดงานชิ้นแรกไป เพราะเตรียมไม่ทัน คงเหลือแต่หัวข้อ การเขียนงานภาพยนตร์ แต่คิดว่าพูดเป็นภาษาอังกฤษน่ะดีแล้ว ขืนพูดเป็นไทยจะยุ่ง

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.