สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
จอมขมังเวทย์ กับ เอ๋อเหรอ คว้ารางวัลเทศกาลหนังเอเชียแปซิฟิก
  2 ตุลาคม 2548
 

          ประกาศไปแล้วเมื่อคืนนี้ (1 ตุลาคม) งานเทศกาลหนังเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 50 แต่เพิ่งนึกออกคืนนี้  เช็คเว็บแล้วก็ยังไม่ได้อัพเดต  จนต้องโทรถามเพื่อนฝูง  ซึ่งก็กัดมาตามสายว่าสนใจเทศกาลนี้ด้วยหรือ

          ไม่ว่าอะไร  เราก็ต้องทำหน้าที่  ได้ผลปรากฎว่า จอมขมังเวทย์ คว้ารางวัลเทคนิคพิเศษ  ส่วน เอ๋อเหรอ ได้รางวัลพิเศษ  ซึ่งมอบให้หนัง 2 เรื่องกับนักแสดง 3 คน  แต่ละเรื่องมีเหตุผลแตกต่างกันไป   เอ๋อเหรอได้เพราะเน้นนำเสนอความยากลำบากของเด็กพิการในสังคม

          ผู้กำกับเกาหลีใต้คังจีกิวคว้ารางวัลสำคัญไป 2 รางวัล คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กับผู้กำกับยอดเยี่ยม จากหนังเรื่อง Tae Guk Ki หนังที่พี่น้องสองคนต้องออกไปรบร่วมกัน วอนบิน เล่นเป็นน้องชายน่ะ  ผู้กำกับคนนี้ก็คนที่ทำ Shiri ไงล่ะ
 

Tae Guk Ki คว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยม
จอมขมังเวทย์ คว้ารางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม
   
                                              
เ่อ๋อเหรอ รางวัลพิเศษ

รายชื่อผู้ชนะรางวัล

ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม  Tae Guk Gui (เกาหลีใต้)
ผู้กำกับยอดเยี่ยม   คังจีกิว จาก Tae Guk Gui (เกาหลีใต้)
ดารานำชายยอดเยี่ยม   Joo Hyun for A Family (เกาหลีใต้)
ดารานำหญิงยอดเยี่ยม Tiara Jacquelina for Puteri Gunung Ledang (มาเลเซีย)
ดาราประกอบชายยอดเยี่ยม   Anthony Wong for Initial D (ฮ่องกง)
ดาราประกอบหญิงยอดเยี่ยม
Rima Melati for Ungu Violet (อินโดนีเซีย)
บทยอดเยี่ยม   The Moon Also Rises (ไต้หวัน)
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม   Buffalo Boy (เวียดนาม)
ตัดต่อยอดเยี่ยม    
Janji Joni (อินโดนีเซีย)
ดนตรีประกอบดั้งเดิมยอดเยี่ยม
Ayob Ibrahim จาก Qaisy & Laila (มาเลเซีย)
เทคนิคยอดเยี่ยม จอมขมังเวทย (ไทย)
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม   Tsuyoshi Shimizu จาก Samurai Commando-Mission 1549 (ญี่ปุ่น)
สารคดี / หนังสั้นยอดเยี่ยม
   Pua (มาเลเซีย)
แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม      Fireball (ไต้หวัน)
รางวัลพิเศษมอบให้กับหนัง   Path of Justice (เวียดนามi)   เอ๋อเหรอ (ไทย)   
รางวัลพิเศษมอบให้กับนักแสดง  เฉินหลง (ฮ่องกง) Yang Kuei Mei (ไต้หวัน) Dian Sastrowardoyo (อินโดนีเซีย)

สำหรับรายชื่อหนังที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด   ติดตามได้ที่ ประกวดหนังเอเชีย - แปซิฟิกครั้งที่ 50

เว็บไซต์ของเทศกาล แต่คงต้องรอวันจันทร์เป็นอย่างช้า

เทศกาลหนังเอเชีย – แปซิฟิค ครั้งที่ 50   28 กันยายน - 1 ตุลาคม
  8 กันยายน 2548
   
 

         ไม่รู่ว่าจะมีคนที่จำเทศกาลหนังอันนี้ได้กันบ้างไหม เพราะเมื่อก่อนเขาไม่ได้เรียกกันว่าเทศกาลหนังเอเชีย – แปซิฟิค แต่จะรู้จักกันในนามว่า มหกรรมภาพยนตร์เอเชียและแปซิฟิค ซึ่งจะเป็นงานระดับรัฐบาลมากกว่า โดยประเทศที่เข้าร่วมจะอยู่กับแถบเอเชียนี้ แถมประเทศออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์เข้ามาเพิ่ม ส่วนผู้จัดก็ผลัดหมุนเวียนกันไปในแต่ละประเทศ ไทยเราเคยเป็นเจ้าภาพเมื่อ พ.ศ. 2542 หรือ 2543 นี้ล่ะคะ ปีที่แล้วเขาจัดที่ญี่ปุ่น      


          ถ้ายังจำไม่ได้อีก ก็ขอบอกเกริ่นว่าหลายปีก่อนโน้นเคยจัดที่เวียดนาม แต่ไม่รู้จัดกันท่าไหน ทำให้อ๊อกไซต์ ปัง โมโห บินกลับบ้านทันที ปีนี้เขาจัดกันที่มาเลเซีย

         เพราะเป็นงานระดับรัฐบาล  หนังที่ได้รับการคัดเลือกก็เลยออกแนวทำหน้าที่เป็นทูตสันถวไมตรีมากกว่า ส่วนจะเป็นเรื่องไหนบ้าง ก็ลองดูแล้วกันนะคะ

ไทย จอมขมังเวทย์ เอ๋อเหรอ และชัตเตอร์
เวียดนาม Saigon Liberation, Buffalo Boy และ The Right Heart Plan
อินโดนีเซีย Banyu Biru – Waking Banyu, Janji Joni-Joni’s Promise และ Ungu Violet – Violet
ฮ่องกง Butterfly, New Police Story และ Initial D
มาเลเซีย Gangster, Puteri Gunung Ledang, Qaisy & Lailai
รัสเซีย National Bomb
เกาหลีใต้ Tae Guk Gi, A Family
ไต้หวัน The Wayward Cloud, The Moon Also Rises, The Passage
อิหร่าน Tradition of Killing Lovers, Mama’s Guest, Stone Blossoms
ญี่ปุ่น Beat Kids, Train Man, Samurai Commando – Mission 1549

         ไม่มีข้อมูลของผู้กำกับเลยค่ะ เป็นการยืนยันการเป็นหนังฉายโชว์เพื่อวัฒนธรรมล้วน ๆ เลยนะคะ ผู้เขียนเคยดูอยู่หลายเรื่องอยู่ ก็มีหนังเกาหลี Tae Guk Gi ซึ่งเป็นหนังชาตินิยมล้วน ๆ แล้วก็ดูหนังเวียดนามเรื่อง Buffalo Boy อันนี้รู้จักผู้กำกับตอนหนังเขามาประกวดที่เทศกาลหนังกรุงเทพเมื่อต้นปีนี้ หนังเกือบได้รับรางวัลนักวิจารณ์ค่ะ ส่วนหนังมาเลเซีย Puteri Gunung Ledang อันนี้เป็นสุริโยไทภาคมาเลเซีย เป็นหนังมาเลเซียที่ลงทุนมากที่สุด เพราะนางเอกของเรื่องแกเป็นโปรดิวเซอร์หนังด้วย แกเอาเงินสามีมาทำหนังเรื่องนี้ เพราะภรรยาคนแรกเอาเงินไปซื้อวังที่ฝรั่งเศส แกเป็นเมียคนที่สองค่ะ (ผู้ชายมุสลิมแต่งงานได้ 4 คน)
          มีหนังไต้หวันอีกเรื่อง The Wayward Cloud ของไฉ่หมิงเหลียง อันนี้ไปได้รางวัลที่เบอร์ลินมา แต่เป็นหนังที่เฮียไฉ่แกขี้โมโหมาก โป๊สะบัดช่อเลย กรรมการคงจะไม่ให้รางวัล

 

 

 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.