สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

 
ปัญญาเรณู 3 รูปูรูปี
 
Share |
Print   
   
 

กำหนดฉาย 7 มีนาคม 2556
แนวภาพยนตร์ คอเมดี้-ดราม่า
บริษัทผู้สร้าง สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บิณฑ์ บูม บิสซิเนส
บริษัทจัดจำหน่าย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
บริษัทดำเนินงานสร้าง บิณฑ์ บูม บิสซิเนส
อำนวยการสร้าง สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ, บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
ควบคุมงานสร้าง วราภรณ์ พิบำรุง
กำกับภาพยนตร์ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
บทภาพยนตร์ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
กำกับภาพ พีระพันธ์ เหล่ายนตร์
ลำดับภาพ พีระพันธ์ เหล่ายนตร์
ออกแบบงานสร้าง สุวัฒน์ชัย สุทธิรักษ์
ออกแบบเครื่องแต่งกาย ธนสรร ไอยเรศกร
ดนตรีประกอบ ธิปไตย ภิรมย์ภักดิ์
คัดเลือก-สอนการแสดง สุรชัย เที่ยงธรรม
ออกแบบท่าเต้น พิลานันทร์ มาตรเลิง
ที่ปรึกษาด้านภาษา ลักษมี ญาณเกียรติพงศ์
ฟิล์มแล็บ สยามพัฒนาฟิล์ม  
บันทึกเสียง ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา
ทีมนักแสดง ด.ญ.สุธิดา หงษา, ด.ช.พงษ์สิทธิ์ นาเวียง, ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว, ด.ช.วิชิต สมดี,
ด.ช.ปกรณ์ ผ่องศรี, ด.ญ.ศศิธร อัปมานะ, ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก, ด.ญ.พิมพ์รพี ดีเมืองปัก, ด.ญ.วาทินี พงษ์ภาพ, กุ๊ดดู กุมาร, นพดล ดวงพร, ยุทธพิชัย ชาญเลขา, อุษณียาภรณ์ ผลเจริญ, เหลือเฟือ มกจ๊ก, จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม, ซ่าส์ หมาว้อ, ยาว ลูกหยี, ศิกษก บรรลือฤทธิ์


เรื่องย่อ

ภาพยนตร์สะท้อนกลิ่นอายวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวอีสานส่งผ่านให้ชาวต่างชาติได้รับรู้ จากเรื่องราวความม่วนซื่นในการเดินทางของ “น้ำขิง” (สุธิดา หงษา) และเพื่อนๆ จากหมู่บ้านชนบทของไทยสู่เมืองพุทธคยา เพื่อไปทอดผ้าป่าและแสดงโปงลาง-วัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคอีสานที่วัดไทยในอินเดีย

เรื่องราวสนุกสนานและประทับใจเริ่มต้นตั้งแต่การเตรียมตัวขึ้นเครื่องบินเป็นครั้งแรก จนกระทั่งเดินทางไปถึงอินเดีย แต่ในระหว่างที่กลุ่มเด็กๆ พักอยู่ที่อินเดีย ทางวัดได้พาเด็กๆ ไปเที่ยว ขณะนั้นเองที่กลุ่มเด็กๆ เกิดพลัดหลงจากคณะของพระโดยไม่คาดคิด

เรื่องชุลมุนสุดหรรษาจึงเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มเด็กไทย 7 คน (น้ำขิง, เปเล่, ชิต, เซฟ, พลอย, ภีม, โบ๊ต) ต้องหลงทางในดินแดนที่ไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย และไม่สามารถสื่อสารได้

แต่แล้วโชคชะตาก็นำพาให้พวกเด็กๆ ได้พบกับ “รูปี” (กุ๊ดดู กุมาร) เด็กชายชาวอินเดียที่พยายามจะช่วยเหลือ แม้จะไม่สามารถสื่อสารกันได้ แต่เด็กก็ย่อมเข้าใจในเด็กด้วยกัน ขณะเดียวกันทางกลุ่มพระและคณะทัวร์ก็ออกตามหาเด็กๆ แต่ก็มีเหตุให้ต้องคลาดกันทุกครั้งไป

ความรัก, ความสามัคคี และไหวพริบของเด็กๆ จะช่วยให้พวกเขากลับวัดไทยได้อย่างไร

จากการขุด “รูปู” เล่นสนุกสู่ทริป “รูปี” ตะลุยอินเดีย การผจญภัยในเมืองที่แตกต่างทั้งภาษาและวัฒนธรรม แต่มิตรภาพในวัยเด็กที่ไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ จะสร้างความประทับใจให้คุณสัมผัสได้ใน “ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี”

ฉากเด็ดสะระตี่ สนุกดีดี๊ดี ส่าหรีกระจาย

 

ฉากในตลาด - เป็นอะไรที่ยากมากๆ เพราะคนมามุงดูกันเป็นหมื่น เราต้องใช้กล้องแอบถ่ายไม่ให้ใครเห็นกล้อง ก็โอเคได้ภาพที่ดี นี่คือฉากที่ใช้คนเยอะมากในตลาดเมืองพุทธคยา ใช้คนเยอะมากแต่ไม่ได้จ้างเพราะเราแค่บอกว่าถ่ายหนัง เค้าก็มากันแล้ว เราเอากล้องแอบไว้บนหลังคาตึก ก็ได้ภาพแบบธรรมชาติ ถ้าเค้ารู้ว่ากล้องอยู่ไหนเค้าก็อยากออกกล้อง
ฉากไฟไหม้ - เป็นฉากที่พวกโจรมาปล้นเผาบ้านเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ไม่ได้ทำร้ายผู้คน ฉากนี้ต้องใช้ม้าใช้คน ทำงานค่อนข้างลำบาก เราเซ็ตบ้านทั้งหมด 12 หลัง แต่มีปัญหากับชาวบ้านเพราะเค้าไม่ให้เผา เค้ากลัวว่าไฟจะติดบ้านเค้า ต้องเอาผู้ใหญ่มาเคลียร์ ก็ยังไม่ให้เผา แต่เราก็เผา พอเผาตรงไหนเค้าก็เอาน้ำมาดับ หงุดหงิดมาก แต่ก็โอเคถ่ายได้จนจบ
ฉากอาบน้ำ 4 วรรณะ - เป็นอีกฉากที่ถ่ายทำค่อนข้างลำบาก ต้องเซฟพวกเด็กๆ เพราะว่าต้องลงไปเล่นน้ำจริงๆ ที่ผ่านการอาบมาแล้ว 3 ชั้น ลงมาชั้นที่ 4 น้ำเก่าๆ ที่ใช้แล้ว เราก็ต้องเซฟเด็กเดี๋ยวเป็นอะไรขึ้นมา แต่ก็ไม่เป็นอะไร มันเป็นความเชื่อเรื่องวรรณะ ทุกวันนี้พวกคนจนขอทานก็ยังอาบน้ำวรรณะที่ 4 อยู่ เราก็อยากจะให้ดูว่ายังมีสิ่งเหล่านี้อยู่บนโลกใบนี้นะ
ฉากเทศกาลโฮลี่ - เหมือนสงกรานต์บ้านเรา แต่เป็นสงกรานต์สี เป็นฉากที่สร้างสีสันสวยงาม เค้าก็เล่นกันทุกที่ของอินเดีย เหมือนบ้านเราที่เล่นสาดน้ำกันทุกที่ วันโฮลี่ของอินเดียจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันเยอะ เราก็ต้องเซ็ตฉากนี้ขึ้นมา ต้องจ้างคนเข้าฉาก 500-600 คน มาเล่นปาสีกัน ฉากนี้ลงทุนมากฉากหนึ่ง และการหาสถานที่ในการถ่ายทำก็ยาก แต่ก็ได้ฉากสวยงามตามต้องการ
ฉากเต้นระบำอินเดียกับโปงลาง - เราไปขอเช่าสถานที่กลางแจ้ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้นำใหญ่ๆ จะมาปราศรัย มาเล่นการแสดง ก่อนถ่ายฉากนี้เราก็จะมีการประกาศว่าเดี๋ยวเราจะมีการเอาโปงลางของไทย และระบำอินเดียมาโชว์ ตอนเช้าๆ คนมาเป็นพันๆ แต่เรายังรอเซ็ตโน่นนี่กว่าจะได้ถ่ายก็ 4 โมงกว่าแดดเปรี้ยงคนหายเกลี้ยง เราต้องออกไปประกาศใหม่ขอความร่วมมือ เขาก็ออกมากันอีกที แล้วเราก็ต้องรีบถ่ายจนได้ฉากใหญ่นี้

เกร็ดหนัง

1) "ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปู รูปี" (7 มี.ค. 56) เป็นผลงานกำกับเรื่องที่ 7 ของผู้กำกับ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์" โดยผลงานก่อนหน้านี้ได้แก่ ปัญญาเรณู 2 (2555), ปัญญาเรณู (2554), เดอะโกร๋น ก๊วน กวน ผี (2547), ช้างเพื่อนแก้ว (2546), ตำนานกระสือ (2545), มนต์รักเพลงลูกทุ่ง (2538)

2) ผู้กำกับฯ ได้คิดเรื่องใหม่หมด, เขียนบท และกำกับการแสดงเองทั้งหมด โดยได้ไอเดียและแรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์จริงและเรื่องเล่าต่างๆ เมื่อครั้งเดินทางไปเที่ยวที่อินเดีย บวกกับเรื่องราวการผจญภัยและมิตรภาพที่ไม่มีชนชั้นวรรณะของกลุ่มเด็กๆ จนสร้างสรรค์ออกมาเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้

3) "ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปู รูปี" เป็นภาพยนตร์ไทยที่มีซับไตเติ้ลภาษาไทยด้วย เพราะหนังพูดทั้งภาษาอีสาน, ภาษาไทยกลาง และภาษาปะกิต (อังกฤษกะปริดกะปรอย)

4) “รูปู” หมายถึงเด็กอีสาน และ “รูปี” สกุลเงินอินเดียก็หมายถึงเด็กอินเดีย

 

 

5) นำทีมชุลมุนสุดหรรษาด้วยแก๊งปัญญาเรณู “น้องน้ำขิง” (ด.ญ.สุธิดา หงษา), “เปเล่” (ด.ช.บุญฤทธิ์ จันทร์แก้ว), “ชิต” (ด.ช.วิชิต สมดี) พร้อมเพิ่มสีสันความแสบใสกับ “น้องเซฟ” (ด.ญ.ศศิธร อัปมานะ), “น้องพลอย” (ด.ญ.พิมพ์รพี ดีเมืองปัก), “น้องภีม” (ด.ช.ธงรบ ดีเมืองปัก), “น้องโบ๊ต” (ด.ช.ปกรณ์ ผ่องศรี) และขอแนะนำ “กุ๊ดดู กุมาร” (ในบท “รูปี” เด็กชายอินเดียที่คอยช่วยเหลือแก๊งเด็กไทย), เสริมทัพความสนุกด้วย “แซกกี้” (ด.ช.พงษ์สิทธิ์ นาเวียง) และทีมนักแสดงรุ่นใหญ่ นพดล ดวงพร, ยุทธพิชัย ชาญเลขา, อุษณียาภรณ์ ผลเจริญ, เหลือเฟือ มกจ๊ก, จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม ฯลฯ

6) โลเกชั่นหลัก 90% ของเรื่องถ่ายทำกันที่เมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย ให้ได้เห็นวิถีชีวิตชนบทของอินเดีย ประเพณีวัฒนธรรม และสถานที่แปลกๆ อีกมากมายทั้งวัดวาอาราม และสถาปัตยกรรมเก่าๆ นับพันปี

7) ยกทีมงานนักแสดงเกือบร้อยคนไปใช้ชีวิตและถ่ายทำกันที่อินเดียนานถึงหนึ่งเดือนเต็ม

8) ผู้กำกับฯ ยังคงสอดแทรกวัฒนธรรมอีสานที่มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายอย่างฉากขุดรูปูเล่นสนุกของเด็กๆ และฉากใหญ่ๆ ที่ถ่ายกันที่อินเดียไม่ว่าจะเป็นฉากโจรปล้นเผาบ้าน, ฉากอาบน้ำ 4 วรรณะ, ฉากตามหาเด็กในตลาด (ท่ามกลางอินเดียมุงเป็นหมื่น), ฉากโปงลางปะทะระบำอินเดีย, ฉากในสถานีรถไฟ, ฉากเทศกาลโฮลี่ (สงกรานต์สี)

9) “โรตีแกงกะหรี่” เป็นอาหารอินเดียที่ผู้กำกับฯ ติดใจและคอนเฟิร์มว่า “มันอร่อยมาก” นะจ๊ะ นายจ๋า

 

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.