สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

 

คน-โลก-จิต

  LINK แคแรกเตอร์นักแสดง                      สัมภาษณ์ผู้กำกับ
 
Share |
Print   
   
 

 

 

 

กำหนดฉาย 17 พฤษภาคม 2555
แนวภาพยนตร์ เขย่าจิต (ไซโค-ทริลเลอร์)
บริษัทผู้สร้าง-จัดจำหน่าย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
บริษัทดำเนินงานสร้าง ซีเนมาเซีย
อำนวยการสร้าง สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
ควบคุมงานสร้าง นนทรีย์ นิมิบุตร
ดำเนินงานสร้าง ณมญชุ์ พงษ์วิไล
กำกับภาพยนตร์ นนทรีย์ นิมิบุตร
เรื่อง ภัทรา พิทักษานนท์กุล
บทภาพยนตร์ นนทรีย์ นิมิบุตร, ภัทรา พิทักษานนท์กุล
กำกับภาพ ธีระวัฒน์ รุจินธรรม
ลำดับภาพ เดอะ บุชเชอร์ (The Butcher)
ออกแบบงานสร้าง รัชชานนท์ ขยันงาน
ออกแบบเครื่องแต่งกาย ฐิติกรณ์ ศรีชื่น
ดนตรีประกอบ ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
ทีมนักแสดง อาทิตย์ ตั้งวิบูลย์พาณิชย์, ศรัณยู ประชากริช, อาภา ภาวิไล, บุญยิสา จันทราราชัย, สุเชาว์ พงษ์วิไล, ชนานา นุตาคม

เรื่องย่อ

ท่ามกลางความวุ่นวายแห่งมหานครกรุงเทพ เหตุฆาตกรรมซาดิสต์สุดสะเทือนขวัญได้เกิดขึ้นในวันอันร้อนระอุใจกลางเมือง ศพชายนิรนามถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยมโดยไม่ทราบสาเหตุ...กะโหลกศีรษะถูกทุบจนแหลกละเอียด

“เขื่อน” (อาทิตย์ ตั้งวิบูลย์พาณิชย์) นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญการอ่านจิตอาชญากร ได้เข้ามาช่วยไขปริศนาคดีฆาตกรรมนี้ร่วมกับ “เทียน” (บุญยิสา จันทราราชัย) นักนิติวิทยาศาสตร์สาวผู้มีปมบางอย่างฝังลึกในใจ ทั้งคู่สืบค้นทุกเบาะแสเพื่อให้ได้เงื่อนงำของคดีจนต้องก้าวล่วงเข้าไปในปมชีวิตเบื้องลึกของกันและกันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

ขณะที่การสืบสวนกำลังดำเนินไปอย่างเร่งรีบ แต่ก็มีคนตายเพิ่มขึ้นในสภาพศพที่ถูกทารุณอย่างโหดเหี้ยมไม่แพ้กัน และครั้งนี้มีเงื่อนงำบางอย่างที่ชี้ให้ “คีย์” (ศรัณยู ประชากริช) หนุ่มไฮโซเพื่อนเก่าของเขื่อนตกเป็นผู้ต้องสงสัย

นั่นทำให้เขื่อนต้องกลับมาเผชิญหน้ากับคีย์อีกครั้งด้วยความจำใจ หลังจากที่เขาพยายามหลบหน้ามาโดยตลอด หรือจะมีอะไรบางอย่างแอบแฝงอยู่เบื้องหลังความเป็นเพื่อนของทั้งคู่ที่อาจเชื่อมโยงกับคดีนี้

ก่อนที่จิกซอว์ภาพฆาตกรในหัวของเขื่อนใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ กลับมีเหตุไม่คาดฝันทำให้เขื่อนได้พบกับ “กวาง” (อาภา ภาวิไล) นักศึกษาสาวที่เขาเคยให้ความช่วยเหลือจากเหตุฆาตกรรมในครอบครัวเมื่อ 10 ปีก่อน การพบกันของทั้งคู่ได้ปลุกอดีตอันเลวร้ายให้ย้อนกลับมาตามหลอกหลอนทั้งเขาและเธออีกครั้ง และยิ่งคดีถูกสืบลงลึกไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้เงื่อนงำที่ดูเหมือนจะดึงทั้งสี่คนให้ถลำลึกกับความบิดเพี้ยนทางจิตใจมากขึ้นเท่านั้น

หรือคำตอบของคดีฆาตกรรมต่อเนื่องสุดซาดิสต์นี้จะนำพาทั้งสี่คนให้เข้าใกล้ความตาย...อย่างคาดไม่ถึง

ใครกันแน่คือคนที่กุมจิกซอว์ตัวสุดท้ายในเกมกลมรณะที่ฆาตกรผูกไว้อย่างสุดพิสดารนี้

เมื่อความตายมาประชิดตัว จงอย่าไว้ใจใคร...แม้แต่ใจตัวเอง!

 

จุดเริ่มต้น...เข้มข้นด้วยเนื้องานคุณภาพแหวกแนว***

“เรื่องนี้สร้างมาจากบทภาพยนตร์ที่ชนะเลิศโครงการ Thailand Script Project ครั้งที่ 2 ที่ผมทำร่วมกับคุณเป็นเอก (รัตนเรือง) ครับ ซึ่งผมเองได้อ่านแล้วก็เห็นว่ามันมีความน่าสนใจมาก บวกกับข่าวสารที่ออกมาในปัจจุบันนี้มันทำให้เห็นว่าสังคมเรามีสภาพจิตใจที่บิดเบี้ยวขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการแสดงพฤติกรรมที่แปลกประหลาดคาดไม่ถึงออกมามากมาย ทำให้ผมรู้สึกว่าควรจะบอกเล่าให้ฟังว่าคนเรามีความผิดเพี้ยนไปมากแค่ไหนแล้ว ไอเดียมันเริ่มมาจากครอบครัว จนถึงสังคมที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทุกชนชั้น โดยเล่าเรื่องราวผ่านเหตุฆาตกรรมสะเทือนขวัญ ที่นำพาตัวละครมาเจอกัน แล้วทำให้ทุกคนได้ค้นพบตัวเองว่าจริงๆ แล้ว ชีวิตที่เราดำเนินอยู่นี้ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือเปล่า

เล่าง่ายๆ เลยคือ มันเกิดเหตุฆาตกรรมสะเทือนขวัญขึ้นในกรุงเทพฯ นี่นะฮะ ก็เป็นเหมือนข่าวที่เราเคยดู เพียงแต่ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้มันนำพาตัวละคร 4 ตัว เข้ามาเจอกัน แล้วต่างคนก็มีปมที่บิดเบี้ยวทางใจ เนื่องจากทางครอบครัวบ้าง สภาวะทางสังคมบ้าง ทางการงานบ้าง ที่มันเกิดความเครียด ความเพี้ยน อาจจะเห็นภาพหลอน ซึ่งต่างๆ เหล่านี้เราได้มาจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ทั้งนั้น 4 คนนี้ก็มารวมตัวกันแล้วพยายามช่วยกันหาทางแก้ไขสภาวะการของแต่ละคนๆ ให้มันคลี่คลายออกไปทั้งทางดีและร้าย บางคนมันไม่แน่นอน จากสถิติจากข้อมูลจากบันทึกคดีที่เคยมี มันอาจจะแก้ไขไปในทางที่ดีได้ หรือบางรายยิ่งแก้ไขก็ยิ่งอาจถลำลึกลงไปอีกได้ เรื่องนี้ก็จะบอกทั้งสองทางครับ”

เตรียมพร้อมข้อมูล ทวีคูณความเข้าใจ ใส่ใจงานทุกขั้นตอน

เนื่องจากเป็นแนวภาพยนตร์ที่แปลกใหม่สำหรับตัวผู้กำกับเอง งานนี้จึงต้องเตรียมงานกันอย่างสมบูรณ์พร้อมก่อนการถ่ายทำจริง ทั้งการรีเสิร์ชข้อมูลมากมาย กรณีศึกษาต่างๆ (Case Study) เพื่อนำมาใส่เป็นรายละเอียดของคาแร็คเตอร์ตัวละครแต่ละตัว ฉะนั้น “ความเข้าใจ” จึงเป็นสิ่งที่ผู้กำกับย้ำให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการดีไซน์ช็อตภาพต่างๆ ของหนัง ดีไซน์เฟรม ดีไซน์สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในหนังเพื่อเสริมสีสันความเข้มข้นนั้น ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ต้องเกิดจากกระบวนการเข้าใจก่อนทั้งสิ้น

“ใช่ครับ แนวนี้ไม่เคยกำกับเลยครับ คือขณะที่รู้สึกกับเรื่องราวความผิดเพี้ยนของมนุษย์ประจวบกับได้สคริปต์ที่ชนะมา ก็รู้สึกดีใจมากเลยว่าเราได้พบทางอีกทางของเราแล้ว มันเป็นเรื่องที่เราไม่เคยเล่าแล้วก็ไม่เคยทำหนังประเภทนี้นะครับ เมื่อมีโอกาสได้ทำก็รู้สึกดีใจมากว่าเราได้ทำอะไรใหม่ๆ อีกแล้ว เราได้คิดภาษาภาพใหม่ๆ อีกแล้ว เราได้ค้นหาวิธีการเล่าหนังใหม่ๆ อีกแล้ว ซึ่งมันทำให้ผมรู้สึกสนุกเวลาทำหนัง เวลาที่ได้เจออะไรใหม่ๆ แบบนี้

เริ่มแรกก็ต้องหาข้อมูลมากมาย และสำคัญที่สุดเลยเราต้องเข้าใจในสิ่งที่เรากำลังจะทำ ถ้าเราไม่เข้าใจซะแล้ว เราก็ไม่อาจอธิบายสิ่งที่ต้องการถ่ายทอดให้กับตัวละครได้เมื่อมีคำถามเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการเขียนคาแร็คเตอร์ตัวละครแต่ละตัวออกมา มันต้องเกิดจากการเอาเคสต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับคนๆ นี้ หรือบางทีก็เอา 4-5 เคสมารวมให้คาแร็คเตอร์คนนี้ไป

การเตรียมตัวก็เลยจะต้องทำทุกอย่างให้พร้อมที่จะตอบตำถามตัวเองเวลาที่เราต้องการดีไซน์ช็อตต่างๆ ของหนัง ดีไซน์ภาพ ดีไซน์เฟรม เฟรมนี้มันจะบอกอะไร มันจะพูดถึงอะไร หรือกระทั่งสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เอามาใช้ในหนัง มันก็ต้องเกิดจากกระบวนการเข้าใจก่อน รู้ว่าภาพในหัวของคนๆ นี้จะออกมาเป็นยังไง เขาจะเห็นเป็นแบบที่เขาคิด เพราะฉะนั้นเราต้องคิดแทนตัวละครทุกตัว และดีไซน์สัญลักษณ์ทุกตัวออกมาให้เข้ากับสิ่งที่เขาคิดอยู่ในหัวอย่างแท้จริง เพราะส่วนใหญ่แล้วคนเหล่านี้จะไม่พูดออกมา ถ้าคนเหล่านี้เป็นคนที่พูดออกมา เขาจะไม่เป็น เขาจะไม่มีสภาวะอย่างนี้ เพราะเขาได้พูดคุย ได้ระบายความรู้สึกเหล่านั้นออกมา แต่คนเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจากที่ผมรีเสิร์ชมามักจะไม่พูด จะเก็บไว้ข้างใน บางคนเก็บจนกระทั่งซ่อนมันไว้เลย ไม่พยายามคิดถึงมัน แล้วก็กดความรู้สึกอันนั้นเอาไว้ กดเรื่องราวเหล่านั้นเอาไว้ แล้วก็ไม่พูดมัออกมา ไม่อธิบายให้ใครฟัง นั่นทำให้คนเหล่านั้นมีสภาวะหรือสภาพการณ์ทางจิตหรือทางประสาทที่มันบิดเพี้ยนไปได้โดยทางภาพเราดีไซน์ให้ภาพทุกภาพที่เกิดขึ้นในหนังเนี่ยมันไม่นิ่ง มันเหมือนกับสภาพจิตใจของคนเมืองนี้แล้วไม่นิ่ง กล้องจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลามากบ้างน้อยบ้าง แต่จะไม่มีกล้องนิ่งๆ เลยในหนังเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นจะเกิดการดีไซน์การเคลื่อนไหวของกล้อง และขณะเดียวกันกล้องจะเคลื่อนไหวผ่านสิ่งที่ทำให้ภาพของคนนั้นมันบิดเบี้ยวไปตามวัตถุต่างๆ อาทิเช่น ภาพที่มันมีกระจกวางทับเหลื่อมซ้อนกันอยู่ เมื่อกล้องผ่านกระจกเหล่านั้นแล้วข้างหลังเป็นคนเนี่ย คนนั้นจมีอาการเพี้ยนๆ จากรูปทรงที่เป็นปกติ จะมีวิธีการเล่าแบบนี้เสมอๆ

แคแรกเตอร์นักแสดง

 

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.