สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

หนังสั้น 9 เรื่อง “ แด่พระผู้ทรงธรรม” รุ่ง ต่างชาติขอหนังไปฉาย ตั้งแต่ยังไม่เสร็จสิ้นดี

  อัญชลี ชัยวรพร รายงาน 6 กย. 2550
  ๑thaicinema.org
  เรื่องย่อและภาพประกอบหนังแต่ละเรื่อง
   
 

สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จัดงานแถลงข่าว โครงการหนังสั้น 9 เรื่อง “ แด่พระผู้ทรงธรรม” เพื่อเตรียมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ เนื่องในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาในปีนี้

ดร อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เปิดเผยว่า ในตอนแรกโครงการ “ แด่พระผู้ทรงธรรม” นี้เกือบจะไม่ได้ทำ เพราะคณะรัฐบาลไม่เห็นด้วย แต่ตอนหลังได้มีการแปรญัตติ และอนุมัติให้ทำ โดยได้งบมา 4 ล้านบาท

ทราย เจริญปุระ เป็นพิธีกร

 

“ แต่ความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นว่างบประมาณเป็นสิ่งที่ตามมา มีสปอนเซอร์เข้ามาช่วยมาลงขัน ศิลปินศิลปาธรก็ให้ความร่วมมือ รวมทั้งผู้กำกับหนุ่มสาวอื่น ๆ เราภูมิใจที่สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ เราพยายามที่จะเผยแพร่งานนี้ไปทั่วประเทศ และทั่วโลก เพราะว่าขณะที่หนังยังตัดต่อไม่เสร็จ แต่เทศกาลหนังฟูกูโอกะ กับกวางเจาก็ติดต่อมา ขยากนำไปแสดง เราคิดว่าภาพยนตร์ชุดนี้จะได้ฉายทั่วประเทศและทางโทรทัศน์ด้วย”

โดยรายละเอียดของหนัง 9 เรื่องนี้ จะเป็นผลงานของผู้กำกับชื่อดังในไทย 4 ท่าน ได้แก่ บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ซึ่งขอให้เรียกว่า ผู้กำกับกิตติมศักดิ์ เป็นเอก รัตนเรือง อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง ที่เหลืออีก 5 คนเป็นการคัดเลือกจากผู้ที่ส่งโครงเรื่องเข้ามาประกวด ซึ่งมีผู้ส่งโครงเรื่องทั้งสิ้น 57 เรื่อง ได้เข้ารอบ 6 เรื่อง มีคณะกรรมการพิจารณา 11 คน อาทิ โดม สุขวงศ์ ปรัชญา ปิ่นแก้ว ธนิตย์ จิตต์นุกูล


บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ผู้กำกับกิตติมศักดิ์ เรื่อง ข่าวที่ไม่สำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสำคัญของฝนหลวงที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจว่า “ พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงมีพระเนตร พระกรรณที่กว้างไกล พยายามสอดส่องไปทั่วประเทศ อันนี้เป็นแรงบันดาลใจจะทำโดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับฝนหลวง ซึ่งยังมีควาดขาดแคลนอยู่ อันนี้เป็นแรงบันดาลใจที่

คุณบัณฑิตกล่าวว่า ทำจากเรื่องที่ส่งเข้ามาประกวด ตอนที่อ่านจากเรื่องครั้งแรก ก็ตีความไว้ว่า ผู้เขียนต้องการมองความสำคัญของปัญหา ทุกคนมักจะมองว่าสิ่งที่อยู่รอบตัวเรามันเป็นปัญหา แต่ปัญหาของคนเล็ก ๆ ในซอกมุม ทั้งที่มันเป็นปัญหายิ่งใหญ่ แต่เราไม่ให้ความสนใจ แต่พระเจ้าอยู่หัว ท่านจะให้ความสนใจ นี่เป็นการตีความของผม คนที่ส่งให้ผม คิดว่าผมเป็นคนถนัดเรื่องฝนหลวง จาก ด้วยเกล้า ทั้งเรื่อง ฝนเป็นพระเอก ผู้ร้ายมันมาตั้งแต่ต้น การถ่ายฝนหลวงค่อนข้างยาก เผอิญผมมีประสบการณ์จากเรื่อง ด้วยเกล้า สงสัยจะมีคนเดียวในประเทศ

สำหรับสิ่งที่ต้องการให้กับคนดูนั้น คุณบัณฑิตกล่าวต่อว่า ผมเชื่อว่าทุกคนรู้เพียงพอกันอยู่แล้วในการทำงานของท่าน แต่สิ่งที่จะได้มากขึ้นคือแง่มุมการเป็นกษัตริย์ การเป็นผู้ทรงธรรม ได้ดื่มด่ำมากขึ้น ได้จากมุมมองของคนทำหนัง เป็นตัวแทนของคนทั้งประเทศ ผมถือว่า การที่ได้คัดเลือกมาทำ ถือว่าเป็นเกียรติยศสูงสุด

ส่วนคุณ เป็นเอก รัตนเรือง ผู้ทำเรื่องเสียงสว่าง หรือ Luminous Sound เรื่องราวของนักเปียนโนตาบอด ชื่อนาย ศิลา นามท้าว รับจ้างเล่นเปียนโนอยู่ตามร้านอาหาร

เป็นเอก กล่าวไว้ว่า เวลาเราคิดถึงพระเจ้าอยู่หัว ก็จะมีอะไรหลายอย่างที่เรานึกถึง แต่นี่เป็นหนังสั้น มีเวลาไม่มาก ผมก็เลยมาทำได้แค่เรื่องเดียว ผมถามตัวเองว่า เรื่องใดมาเป็นเรื่องแรก ผมไม่รู้ว่าที่ผมได้ยินมาจริงหรือเปล่า เคยได้ยินจากใครก็ไม่ทราบ บอกว่าถ้าท่านไม่ได้เป็นพระเจ้าอยู่หัว ท่านคงเป็นนักดนตรีแจ๊ซ ผมไม่ได้รู้จักท่านมากนัก มิได้บังอาจ ผมก็คิดว่า 10 นาทีของผมจะทำให้ให้ท่าน ทรงพระเกษมสันต์ หรือภาษาชาวบ้านว่าแฮ็ปปี้ สิบนาทีของผมเป็นการเอ็นเตอร์เทนท่านสักหน่อย ผมอยากทำให้เป็นน้ำพริก เป็นปลาเค็ม ให้พระเจ้าอยู่หัว แบบที่ชาวบ้านต่างจังหวัดทำปลาเค็มให้ท่าน

สำหรับสิ่งที่จะให้กับคนดูนั้น เป็นเอกกล่าวต่อว่า หนังเพิ่งถ่ายทำเมื่อวานนี้เอง “ ผมอยู่กับพี่แมว (นักดนตรีตาบอด) สามวัน สิ่งที่บันทึกมา มันได้มากกว่าหนัง พูดแล้วอยากร้องไห้ แกเป็นคนตาบอด และทำให้เรารู้สึกว่า ถ้าเราตาบอด เราจะกิเลสน้อยลง เพราะถ้าเราตาบอด เราไม่อยากได้รถ ถ้าเราตาบอด โลกก็จะดีขึ้น เขาไม่ได้รู้สึกว่า เขาพิการ เขาไม่เคยมี แต่เซนส์อย่างหนึ่ง คือ เสียง สัมผัส มันจะรุนแรงมาก สามเท่า เขาอยากใช้ชีวิตแบบพึ่งตัวเอง มันเป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผมคิดว่า มันจะทำให้คนเข้าใจมากขึ้น ผมว่าเท่าที่ผ่านมา เราเข้าใจเษรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น ต้องไปทำนา แต่เราสามารถทำโรงหนัง แบบพอเพียงได้”



วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง ผู้ทำหนังเรื่อง นรสิงหาวตาว (Norasingha) ซึ่งยังคงรักษาสไตล์ดีไซน์และแสงสีของผู้กำกับเช่นเดิม เขาเปิดเผยว่า คติเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นำคติของพราหมณ์จากอินเดียที่เชื่อว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นภาคหนึ่งของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาปราบยุคเข็ญ แลทำนุบำรุงให้บ้านเมืองสงบสุข ดังเห็นได้จากธรรมเนียมการตั้งพระนามพระมหากษัตริย์สืบมาแต่โบราณ เช่น พระนารายณ์ หรือ พระรามาธิบดีต่างๆ แม้แต่ในราชวงศ์จักรี ที่เรียกพระนามเป็นพระรามตามลำดับรัชกาลต่อไป เช่น พระรามที่ ๙ ด้วยพระรามก็เป็นอวตารปางหนึ่งในนารายณ์สิบปางเช่นกัน ปางนี้มันพอดีกับสิบนาที ปางที่เรารู้จักคือปางที่ 7 รามเกียรคิ

ส่วนเหตุผลที่เลือกสร้างปางนรสิงหาวตารนี้ เพราะเป็นปางที่มีเนื้อหาสนุกสนานความยาวพอเหมาะพอดีแก่การผลิตเป็นภาพยนตร์ขนาดสั้นตามเจตจำนงค์ ทั้งยังแสดงถึงพระปรีชาสามารถในการหาหนทางแก้ไขปัญหาด้วยพระปัญญาบารมี ซึ่งแม้ผู้อาสัตย์อธรรมจะฉลาดเฉลียวเพียงใดก็ต้องพ่ายแพ้แก่บุญญาธิการของพระองค์

เหตุผลอีกประการ คือ ต้องการนำเสนอรูปแบบศิลปะไทยร่วมสมัย ที่นำเสนอรูปแบบศิลปะสมัยใหม่อันแสดงออกถึงรากแห่งความเป็นไทย ให้เป็นที่ปรากฏแก่สากลโลก และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์แก่คนรุ่นใหม่ เพ่อถวายกตัญญูกตเวทิตาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษาในปีนี้

มีวิธีออกแบบฉาก มาปรับให้ทันสมัยแบบไทย จุดเด่นเรื่องนี้คือการดีไซน์ มาออกแบบให้ทันสมัย มาสร้างเทคนิคของภาพให้น่าตื่นตาคื่นใจ

หนังมีลักษณะคล้ายแอนิเมชั่น แต่วิศิษฎ์เปิดเผยว่า จริง ๆ แล้วเราถ่ายเป็นบลูสกรีน พยายามทำในงบประมาณที่จำกัด ก็เลยใช้เทคนิคแบบร้านทอง ใช้กระจกเงาสองฝั่งสะท้อน

ส่วนสิ่งที่อยากได้ก็คือ ถ้าเป็นไปได้ อยากทำเป็นสื่อการสอน ส่งไปตามโรงเรียน สอนเกี่ยวกับโบราณ ๆ ไม่รู้ว่ายังมีอีกหรือเปล่า หนังน่าจะเป็นจินตนาการ เล่าเรื่องให้เด้กฟัง และหนังเป็นจินตนาการ จริง ๆ แล้ว ก็เหมือนดูหนังอุลต้าแมน ก็พูดในที่นี่เลย ถ้าใครอยากเป็นสปอนเซอร์ แจกจ่ายไปตามโรงเรียน ก็ยินดี

หลังจากนั้น ได้มีการถามตอบผู้กำกับหนังสั้นอีก 5 ท่าน ที่ได้มาจากการชนะการประกวด ซึ่งรายละเอียดของหนังทั้งหมด จะกล่าวไว้ที่นี่

พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง รักพอเพียง คิดไว้ว่า ตอนนี้เหมือนเราอยู่ใต้อลูมิเนียม เราคิดว่าท้องฟ้าตามเราไปทุกที่  ผมต้องการถ่ายทอดภาพยนตร์ในการเล่าเร่องออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกมีใจความหลักคือ พ่อคือต้นแบบของลูก ส่วนที่สองให้เห็นการเสียสละของพ่อ ในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกหนทุกแห่ง และส่วนที่สาม คือการรู้จักและเรียนรู้ทรัพยากร

ส่วนเรื่องที่อยากได้ให้อะไรกับคนดู  ผู้กำกับกล่าวว่า คนทำหนังก็เหมือนคนทำเสื้อผ้า ก็อยากถวายในหลวง แค่ได้ถวายในหลวง ก็ถือว่าเป็นของวิเศษ

ศิวโรจน์ คงสกุล เสียงเงียบ ( Silencio)

เริ่มต้นจาก หน้าที่หนึ่ง นั่นก็คือ soundman เขาสั่งให้ทุกคนต้องเงียบ เคยคุยกับน้องว่ามันเงียบจริงหรือเปล่า ผมตั้งคำถามว่า ก็ให้เขาได้เจอเสียงเงียบ แต่ในความเงียบก็มีเสียงหนึ่ง

ผมแค่อยากให้คนมาดูเยอะ ๆ ครับ

พรศักดิ์ สุคงคารัตนกุล นิทานพระราชา

ผมมีพระบรมฉายาลักษณ์อยู่สองรูป รูปหนึ่ง ท่านเห็นอะไรในสถานที่นั้น แล้วในรูป ท่านได้เสด็จประพาสไปเยี่ยมชาวเขา ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีใครสนใจ   ผมคิดว่าท่านต้องเดินทางไปที่นั่นด้วยความยากลำบากอย่างแน่นอน

อยากให้คนดูหนังแล้วมีความสุข ดูแล้วปลื้มปิติ หนังของผมมันมีการผจญภัยเล็ก ๆ ครอบครัวหนึ่ง หนังมีจุดจบของการค้นพบ และสารเล็ก ๆ คือ การสืบทอดพระราชกรณียกิจ

อารยะ บุญเชิด 9 ของวิเศษ (9 th Gift)

เก้าของวิเศษ เดิมหาจุดขาย ก็คือ เด็ก อาจจะไม่เข้าใจพระเจ้าอยู่หัวอย่างลึกซึ้งมากนัก ก็เลยเอาของวิเศษ อยากให้ดูแล้วมีความสุข

ปรามธนี วงศ์พรหมเมศร์ และ ศุภรัฐ บุญมาแย้ม ทะเลของก้อย

ผู้กำักับทั้งสองกล่าวว่า ทำเป็นคู่ เพราะไม่มีประสบการณ์ ก็เลยหาคนมาร่วม นึกถึงอะไรที่ใกล้ตัว ท่านจะแปลหนังสือ (พระมหาชนก) อาจจะแตกต่างจากวัดเจดีย์ แต่ก็เป็นประโยชน์เหมือนกัน

อยากให้วัยรุ่นมาดูกัน ปัจจุบัน คนเก่งทุกอย่าง แต่ขาดความเพียร และอยากให้คนไทยมาสนใจนวนิยายแฟนตาซีมาก อยากให้มาสนใจพระมหาชนก

สำหรับหนังสั้นชุดนี้ คาดว่าจะฉายพร้อมกันเดือนตุลาคม ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีเนเพล็กซ์ เมเจอร์ปิ่นเกล้า และอีจีวีซีคอนแควร์

   
ผู้กำกับดังเก่าใหม่ร่วมทำหนังสั้นเฉลิมพระเกียรติ
  ๑thaicinema.org
   
 

 

กระทรวงวัฒนธรรม คัดเลือก 9 ผู้กำกับไทย ทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ ที่จะร่วมโครงการสร้างภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติในหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พร้อมกำหนดฉายในโรงภาพยนตร์เดือนธันวาคม 2550

ภาพยนตร์สั้น 9 เรื่อง นำทีมโดย ศิลปินศิลปาธร สาขาภาพยนตร์

1. เสียงสว่าง โดย เป็นเอก รัตนเรือง

2. นิมิต โดย อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล

3. นรสิงหาวตาร โดย วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง

4. ข่าวที่ไม่สำคัญ โดย บัณฑิต ฤทธิ์กล

5. ทะเลของก้อย โดย ปรามธานี วงศ์พรหมเมศร / ศุภรัฐ บุญมาแย้ม

6. เสียงเงียบ โดย ศิวโรจน์ คงสกุล ผู้ชนะเลิศรางวัลประกวดหนังอัลไซเมอร์เมื่อปีที่แล้ว

7. 9 ของวิเศษ โดย อารยะ บุญเชิด

8. พ่อของพ่อหลวง โดย พรศักดิ์ สุคงคารัตนกุล

9. รักพอเพียง โดย พุทธิพงศ์ อรุณเพ็ง

ทางกระทรวงวัฒนธรรมแจ้งให้ทรบว่า โครงการดังกล่าวได้วางวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้

1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณและพระบุญญาธิการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลทรงเจริญพระชมมายุ ๘๐ พรรษา

2. เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินร่วมสมัยสาขาภาพยนตร์ สร้างสรรค์ผลงานประเภทภาพยนตร์สั้นเฉลิมพรเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสครั้งนี้

3. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ศิลปิน และประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กิจกรรมทางศิลปะที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ

   
   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.