สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
การเดินทางของ สวรรค์บ้านนา ในต่างแดน
  LINK : โปรเจ็คหนังใหม่ของอุรุพงษ์ รักษาศาสตร์ ได้ทุนจากร็อตเตอดัม    
   
 

“สวรรค์บ้านนา (Agrarian Utopia)” เตรียมออกแผ่นดีวีดี ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคมนี้ ที่ร้านบูมเมอแรงทุกสาขา

สวรรค์บ้านนา ได้เข้าร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติทั่วโลกว่า 63 เทศกาล และได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติมากมาย รวมถึงรางวัลพิเศษจากองค์กร UNESCO ด้านความสำเร็จในการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านทางศิลปะภาพยนตร์ จากงาน Asia Pacific Screen Awards ปี 2009

   
 

สวรรค์บ้านนา ชนะรางวัลนานาชาติ ตัวที่ 9

ผลจากการไปฉายในเทศกาลหนังเอเชียนฮ็อตชอร์ตของ สวรรค์บ้านนา (อ่านรายละเอียดได้ที่นี่) หนังได้รางวัลที่ 1 Audience Award ไป โดยมีรายชื่อหนังที่ได้รับรางวัลทั้งหมดดังนี้

Feature Film:

1st Prize – AGRARIAN UTOPIA (Thailand 2009, Uruphong RAKSASAD)

2nd Prize – WHITE DAYS (Singapore 2009, LEI Yuan Bin)

Short Film:

1st Prize – THREAD (India 2009, Lilium LEONARD)

2nd Prize – MADAM CHAN (Singapore 2009, Wilson YIP)

-------------------------------------------

สรุปการเดินทางของ สววรค์บ้านนา ในระยะเวลา 1 ปี 7 เดือน (สิงหาคม) นับจากเวิร์ดพรีเมียร์ที่ร็อตเตอดัม รวมทั้งสิ้น 45 เทศกาล  และได้รับรางวัลไป 8 รางวัล น้อยกว่า Wonderful Town กับเทศกาลส่วนใหญ่จะเล็กกว่า

อเมริกาใต้ หนังได้เดินทางไปที่เทศกาลหนังมาร์เดลพลาต้าที่อาร์เจนติน่า  ไม่ได้รับรางวัลใด ๆ

ยุโรป  - ร็อตเตอดัม  (หนังไม่ได้เข้าประกวด  แต่ทางเทศกาลมีรางวัลของ Netpac ซึ่งให้กับรางวัลหนังจากเอเชีย  ซึ่งหนังได้รับรางวัล Special Mention ของ Netpac

เทศกาลหนังเอเชียที่บาร์เซโลน่า ได้รับรางวัล Special Mention
เทศกาลหนังลิเบอร์ทาส (โครเอเชีย) เข้าประกวด แต่ไม่ได้รับรางวัล
เทศกาลหนังมิวนิค
เทศกาลหนังเกนท์ เบลเยี่ยม
เทศกาลหนังสารคดีลิสบอน โปรตุเกส
เทศกาลหนังเวียนนา
เทศกาลหนังสารคดีโคเปนเฮเกน หรือที่รู้จักกันดีในนามของ CPH : DOX  เข้าสาย Special Focus Re:think
เทศกาลหนังเอเชียติก้ามอนเดียล ที่โรม  ไม่ได้รับรางวัลใด ๆ
เทศกาลหนังเมืองน็องค์ ประเทศฝรั่งเศส เพราะเคยได้รับทุนจากเทศกาลนี้ที่ชื่อ Project du Sud เดินทางไปหาแหล่งทุนที่นั่น
เทศกาลหนังบราติสลาวา ประเทศสโววาเกียแทน ประกวด แต่ไม่ได้รับรางวัลใด ๆ
เทศกาลหนังสารคดีลุมเพียน่า สโลวีเนีย
เทศกาลหนังอิฟอิสตันบูล ตุรกี ได้รับรางวัล Most Inspired Director Award รับเงินรางวัลร่วม อ่านรายละเอียดได้ที่นี่
เบอร์ลิน เยอรมนี ได้รับเชิญไปฉายโชว์ ทั้งหนังและผู้กำกับไปที่งาน Berlin Documentary Forum ระหว่างวันที่ 2-6 มิถุนายน
เทศกาลหนังสารคดีมิลเลนเนียม เบลเยี่ยม ในระหว่างวันที่ 12 - 18 มิถุนายน และได้รับรางวัลสเปเชียลจูรี่ไพรซ์ไป จากการตัดสินของคณะกรรมการ 7 ท่าน จากการนำของผู้กำกับ นักแสดงเบลเยี่ยม มาเรียน ฮันเซ
เทศกาลหนัง “Flahertiana” รัสเซีย ระหว่างวันที่ 7 - 12 กันยายน ที่เมืองเพิร์ม หนังเข้าสายแข่งขัน แต่ไม่ได้รับรางวัลใด ๆ และยังได้เชิญหนังสั้นของอุรุพงษ์อีก 2 เรื่อง ไปฉายโชว์ ได้แก่ The March of Time และ The Way

ออสเตรเลีย - เทศกาลหนังบริสเบน ได้รับรางวัล Netpac อีก  

- เข้าประกวดรางวัลถ่ายภาพสำหรับเอเชียแปซิฟิกสรีนอวอร์ด  แต่ได้รางวัลยูเนสโก้อวอร์ดในการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมแทน

- Regional Intersections จัดโดยหอภาพยนตร์และเสียงแห่งชาติ ที่เมืองแคนเบอรร่า โดยได้เชิญอุรุพงษ์ไปด้วย อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

- Oz Asia Film Festival ที่เมืองอะเดอเลด ระหว่างวันที่ 17 - 26 กันยายน ฉายสองรอบ

อเมริกาเหนือ 

แคนาดา เทศกาลหนังแวนคูเวอร์, 



(ภาพจากเทศกาล)


ล่าสุด ประกาศมาแล้วว่า หนังชนะรางวัล Best Narrative Feature Film & Video Award จากเทศกาลหนัง  Toronto Reel Asian Film Festival

วันที่ 20-22 สิงหาคม ไปฉายรอบเดียวที่ Fortune Cooking Festival ที่เมืองโตรอนโต

สหรัฐอเมริกา  ไปเทศกาลหนัง US - ASEAN ที่วอชิงตัน

เทศกาลหนังสารคดี Documentary Fortnight นิวยอร์ค สหรัฐ  จัดโดย โมม่า (MOMA) หรือพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่นิวยอร์ค เจ้าของงานเทศกาลหนังนิวยอร์ค  ได้จัดฉายโปรแกรมหนังสารคดีที่เรียกว่า Documentary Fortnight เป็นประจำทุกเดือนกุมภาพันธ์  ตั้งแต่ปี 2001  โดยคัดเลือกภาพยนตร์สารคดีจากทั่วโลกทั้งเรื่องสั้นเรื่องยาวมาฉายกว่า 40 เรื่อง
ในวาระครบสิบปีของเทศกาลนี้  ได้คัดเลือกหนังไทยเรื่อง สวรรค์บ้านนาไปฉายด้วย   

เทศกาลหนังเอเชียนอเมริกันซานฟรานซิสโก เข้าฉายในสายสารคดี พร้อมกับหนังไทยเรื่องอื่น ๆ หลายเรื่อง

สำหรับเมษายน  สวรรค์บ้านนา เดินทางไปอเมริกาทั้งต้นเดือนและปลายเดือนเลย   ต้นเดือนไปฉายที่ยูซีแอลเอ แอลเอ สัปดาห์หน้าไปวิสคอนซิน (14 - 18 เมษายน) และสิ้นเดือนไปมินเนียโปลิศ ระหว่างวันที่ 15 - 30 เมษายน

มิถุนายน ไปฉายและถกงานสัมมนาที่ Robert Flahergia Seminar ที่นิวยอร์ค

กรกฏาคม ฉายรอบเดียวที่ Asian Film Festival of Dallas รายละเอียดที่นี่

เอเชีย   เข้าประกวดที่เทศกาลหนังจองจู เกาหลีใต้ ไม่ได้รับรางวัล
เทศกาลหนัึงยอกยา อินโดนีเซีย ได้รับรางวัลทางการที่ชื่อ Golden Hanoman และ Netpac

นอกจากนี้ไปฉายโชว์ที่ ฮ่องกง   สิงคโปร์   ยามางาตะ (ญี่ปุ่น) กรุงเทพ  เทศกาลหนังมุมไบ เทศกาลหนังม้าทองคำ ไต้หวัน เทศกาลหนังเคราลิ เทศกาลหนังพรุน และเนทแพคที่อินเดีย เทศกาลหนังฟาทจ์ที่อิหร่าน และเนทแพคที่ประเทศไทย



   

อุรุพงษ์ รักษาสัตย์  กับผลงานหนังสารคดี “สวรรค์บ้านนา” Agarian Utopia

 

สัมภาษณ์โดย ณัฎฐ์ธร กังวาลไกล / 12 มกราคม 2552

  ©all rights reserved
   
 

 

ชื่อของผู้กำกับหนุ่มวัย 30 กว่าๆ ท่านนี้  หลังจากทำหนังสั้นมาบ้าง ก็เริ่มเป็นที่จับตามองจากผลงานอย่าง “เรื่องเล่าจากเมืองเหนือ” ซึ่งรวมเอาหนังสั้นหลายเรื่องที่เล่าวิถีชีวิตชาวบ้านอันเรียบง่ายแต่ลุ่มลึก ผลงานชิ้นนี้ได้เดินสายไปยังหลายเทศกาลหนัง และผลงานล่าสุดของเขาที่ใช้เวลาเพาะบ่มอยู่นานก็สำเร็จแล้ว และพร้อมจะฉายเป็นที่แรก ณ เทศกาลหนังร็อตเตอร์ดามครั้งที่  38

ที่มาของชื่อหนัง Agarian Utopia
คือตัวโครงการหนังเรื่องนี้คิดขึ้นมาแล้ว แต่ยังหาชื่อเรื่องไม่ได้ คือตัวเรื่องจะเป็นเกี่ยวกับการเกษตร เป็นวงจรของการทำเกษตรกรรม วงจรของธรรมชาติสามฤดู แล้วเราก็ไปหาชื่อมา ซึ่งก็หายากเหมือนกัน การหาชื่อที่มันดูสวยๆ หน่อย จากนั้นก็กลับไปอ่านบทความที่คุณก้อง ฤทธิ์ดี เขาเคยสัมภาษณ์ผม เกี่ยวกับเรื่อง “เรื่องเล่าจากเมืองเหนือ” แล้วก็ไปเขียนเป็นภาษาอังกฤษ แล้วมันก็มีคำว่า “Agarian Utopia” ซึ่งพี่นุช (พิมพกา โตวีระ-โปรดิวเซอร์)กับผมชอบชื่อนี้ ก็เลยเอามาใช้เป็นชื่อของเรื่องต่อไป
ชื่อนี้แปลว่า “เกษตรกรรมแบบยูโทเปีย” คือตัวเรื่องต้นแบบของมันมาจากมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เป็นชาวญี่ปุ่นที่เป็นนักทำเกษตรกรรมแบบธรรมชาติ   ซึ่งเขาจะเขียนหนังสือชื่อ “ปฎิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” (The One Straw Revolution) คือเหมือนกลับสู่รากเหง้าของมนุษยชาติน่ะ  อันนี้คือไอเดียหลักๆ แต่ว่าในหนังเราก็หยิบยืมเอาประเด็นความคิดมาส่วนหนึ่ง ตัวหนังจะไม่ได้พูดถึงการทำเกษตรแบบปฎิวัติยูโทเปียทั้งหมด  แต่จะมีการพูดถึงเรื่องอื่นรวมอยู่ด้วย

 

 

ไอเดียของเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ?
จริงๆ ผมก็เขียนไอเดียอะไรไว้หลายอย่างสำหรับทำผลงานขนาดยาว  ผมก็เขียนเป็นโครงการอะไรแต่ว่าก็เก็บๆ เอาไว้ จนเวลาผ่านมาก็มาคุยกับพี่นุช  ว่าน่าจะส่งไปขอทุนตามที่ต่างๆ ดู  เราก็ลองมาพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เราเขียนไว้ดู ก็มีเรื่องแข่งบั้งไฟ คือจะทำเป็นหนังยาวนะ (เดิมเป็นหนังสั้นและชนะเลิศรางวัลรัตน์ เปสตันยี จากเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 11) แล้วเราก็ดูว่าโปรเจ็คท์นี้ดี เหมาะสมที่จะพัฒนาต่อ เราก็เลยเลือกโปรเจ็คท์นี้มาทำ ก็พัฒนาต่อมาอีกนิด แล้วก็ส่งไปขอทุน ก็ได้ทุนมาทำครับ

ทำไมถึงจะต้องใช้เวลาหนึ่งปีในการถ่ายทำครับ?
คือมันเกิดจากฤดูกาลน่ะครับ แล้วก็การทำเกษตร  การปลูกข้าวนี่เป็นเรื่องที่ใช้เวลานานอยู่แล้วครับ ก็พยายามจะถ่ายทอดให้ครบทั้งสามฤดู เพราะฉะนั้นก็เลยต้องถ่ายเป็นปีน่ะ มันเป็นเรื่องจำเป็น  คือเหมือนเราก็เดินทางไปกับหนังด้วยน่ะ คือเรากำหนดโครงคร่าวๆ แล้วเราก็เดินทางไปกับมัน ว่าเราจะเดินทางไปเจออะไรที่ตรงนั้น  แล้วก็สังเกตการณ์ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้างในพื้นที่

แล้วระหว่างที่ถ่ายทำไปตลอดหนึ่งปี รู้สึกเหนื่อยบ้างไหมครับ?
ก็ไม่นะครับ  คือมันไม่ใช่ว่าไปอยู่ตลอดเวลานะ  มันเหมือนกับไปใช้ชีวิตด้วยน่ะครับ ทำหนังด้วยใช้ชีวิตด้วย ไปอยู่กลางทุ่ง  อยู่กับชาวบ้านบ้าง  เหมือนกับหยุดเวลาที่กรุงเทพฯ ไว้หนึ่งปีน่ะครับ แล้วก็ไปอยู่ที่นั่น เหมือนกันพักวงจรปรกติทุกอย่าง คืออยู่ในเมืองเราทำงานเราเรียนก็เครียดนะ แต่พอไปอยู่ที่นั่นปั๊บ  ทุกอย่างหยุดหมด  ค่อยๆ ซึมซับบรรยากาศท้องไร่ท้องนาและความเงียบสงบ 

แล้วพบปัญหาระหว่างการถ่ายทำไหมครับ?
ก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหานะ  บางอย่างลองแล้วใช้ไม่ได้ก็มี  คือเราทำหนังเรื่องนี้เหมือนเอาเงินไปซื้อเวลาน่ะ  งบมันหมดไปกับการต้องอยู่นานๆ เป็นปี   ก็ต้องใช้เงินให้ประหยัดหน่อย แล้วเรื่องระหว่างถ่าย เราเจอเรื่องหนึ่งเราก็ต้องดูว่าเกี่ยวไม่เกี่ยวกับเรื่องของเรา  แล้วที่เราถ่ายมาเราจะทำยังไงให้เป็นหนังหนึ่งเรื่อง เพราะการถ่ายเป็นแค่การบันทึกเฉยๆ มันไม่ใช่หนังน่ะ  เราจะต้องเอามุมมองทางภาพยนตร์ไปจับมันมาแล้วเรียงร้อยให้เป็นหนังนะ  อันนี้น่าจะเป็นความยากของมัน

 

 

แล้วเมื่อถ่ายทำเสร็จจนเริ่มตัดต่อ  หนังออกมาในแบบที่คิดไว้ไหมครับ?
ก็ตรงกับที่คาดการณ์ไว้นะครับ คืออาจจะมีเรื่องที่เกิดเพิ่มขึ้นมาระหว่างถ่ายทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่แน่นอนอยู่แล้วที่มันต้องมีอะไรเพิ่มเติมขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่คนทำสารคดีต้องเจอ มันเป็นเรื่องที่ตื่นเต้น ถ้าไม่อย่างนั้นนะ ก็คงจะเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวที่ไม่มีอะไร ไม่น่าตื่นเต้นเท่าไหร่  ...เมื่อเรามาถ่ายทำแล้วตัดต่อออกมาส่วนหนึ่ง ก็จะได้ในแบบที่เราอยากได้นะ  ก็คือพวกฤดูกาล ปัญหาต่างๆ บนพื้นฐานของวิธีการทำเกษตร เรื่องวิถีชีวิต ส่วนสิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็ทำให้เรื่องมีความหลากหลาย ดูแล้วตัวผมเองก็ค่อนข้างจะชอบนะ

 

 

และวิธีการนำเสนอในหนังเรื่องนี้ แตกต่างจาก “เรื่องเล่าจากเมืองเหนือ” ยังไงบ้างครับ?
จริงๆ เรื่องใหม่นี้ก็มีหลายอย่างผสมครับ มีสารคดี มีเรื่องแต่ง ผสมทดลอง อยู่ในเรื่องเดียวกันในเนื้อเดียวกัน แต่จะไม่บอกว่าส่วนไหน  ไม่บอกว่าเรื่องนี้เป็นสารคดี เป็นเรื่องแต่ง หรือเป็นทดลอง น้ำหนักอันไหนมากกว่ากันจะไม่บอก ต้องไปดูกันเอาเอง  เพราะถ้าบอกว่าเป็นเรื่องแต่ง มันก็ไม่ใช่ บอกว่าสารคดีทั้งหมดมันก็ไม่ใช่  เป็นสิ่งที่คนดูคงจะต้องไปดูเองว่าอัตราส่วนเท่าไหร่ระหว่างสามอย่างนี้

งบประมาณการถ่ายทำได้มาจากไหนบ้างครับ
งบก็มาจากร็อตเตอร์ดาม แล้วก็สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม แต่ว่าเท่าไหร่นี่ส่วนตัวของผมเองก็ไม่ทราบ  ระหว่างถ่ายทำเรื่องนี้ก็ได้รับค่าตัวเป็นรายเดือนไปน่ะครับ

คาดหวังอะไรจากการได้ไปฉายที่เทศกาลหนังร็อตเตอร์ดาม
หนังเรื่องนี้ไปฉายเฉยๆ นะ  ไปพรีเมียร์ไม่ได้ไปประกวดอะไร ถ้าถามว่าคาดหวังอะไรหรือเปล่า ก็ไม่นะ คือเราพอใจกับงานอยู่แล้วน่ะ  คือคนที่ได้ดูเขาจะตอบรับกลับมาอย่างไรนี่ก็ไม่รู้เหมือนกัน

Agarian Utopia มีกำหนดจะฉายที่เทศกาลร็อตเตอร์ดามสองรอบ คือในวันที่ 25 และ 26 มกราคมตัวคุณอุรุพงษ์ได้บอกทิ้งท้ายว่า  หนังมีโครงการที่จะฉายในเมืองไทยอย่างแน่นอน เพียงแต่จะเป็นเมื่อไหร่นั่นก็คงจะต้องติดตามกันต่อไปครับ

 

 

 

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.