สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
นนทรีย์ นิมิบุตร และปืนใหญ่จอมสลัดในเวนิซ
  11 กันยายน 2551
   
 

 

เรียกเสียงฮือฮาที่ต่างประเทศอีกครั้ง สำหรับอภิมหากาพย์ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ “ปืนใหญ่จอมสลัด” (QUEENS OF LANGKASUKA) ผลงานเรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตคนทำหนังของผู้กำกับมือดี “นนทรีย์ นิมิบุตร” ที่คราวนี้ไปสร้างชื่อเสียงไกลถึง “เทศกาลหนังเวนิซ ครั้งที่ 65” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ส.ค.-6 ก.ย. ที่ผ่านมา ณ ประเทศอิตาลี

โดยภาพยนตร์แอ็คชั่น-แฟนตาซีเรื่องยิ่งใหญ่นี้ได้ฉายโชว์ในสาย OUT OF COMPETITION เมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา ถึง 2 รอบด้วยกัน โดยรอบเช้าเป็นงานแถลงข่าวและเปิดให้สื่อมวลชนได้เข้าชม ส่วนรอบเที่ยงคืนเป็นรอบ Red Carpet-เดินพรมแดง และเปิดให้ผู้ชมทั่วไปได้เข้าชม ซึ่งทั้งสองรอบต่างก็ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทุกแขนง, นักวิจารณ์นานาชาติ รวมถึงผู้ชมต่างชาติในการสัมภาษณ์ทำข่าวและเข้าชมกันเป็นอย่างดี

ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาก ๆ จากผู้ชมส่วนใหญ่ในเทศกาลครั้งนี้ โดยหลังจากที่ภาพยนตร์ฉายจบลง ผู้ชมในโรงภาพยนตร์ต่างก็ลุกขึ้นยืนปรบมือกึกก้องและโห่ร้องด้วยความชื่นชมยินดีนานถึง 3 นาทีเต็มทีเดียว ซึ่งภาพยนตร์ในเทศกาลนี้น้อยเรื่องนักที่จะได้รับเกียรติเท่านี้ นับเป็นการประกาศศักดาและสร้างปรากฏการณ์ของภาพยนตร์ไทยให้กระหึ่ม ณ ต่างแดนอีกครั้งหนึ่ง

“ตื่นเต้นมาก ๆ ครับ ไม่ว่าจะไปมากี่เทศกาล แต่พอเวลาหนังใกล้ฉายและผมได้ร่วมชมไปพร้อม ๆ กับคนดูด้วย ความรู้สึกดีใจและตื่นเต้นก็ยังคงมีอยู่ทุก ๆ ครั้งนะครับ กับเทศกาลหนังเวนิซครั้งนี้ก็รู้สึกตื่นเต้นไม่น้อยไปกว่ากันเลยครับ แล้วผมก็รู้สึกว่าที่นี่เขาให้เกียรติกับคนทำงานมาก ๆ แล้วก็ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นเป็นกันเองด้วยนะครับ ก็รู้สึกยินดีมาก ๆ เพราะขนาด Director ของทางเทศกาลก็ยังมาเลยครับ ก็ถือเป็นการให้เกียรติกับหนังเรื่องนี้อย่างสูงจริง ๆ ครับ

คนดูส่วนใหญ่ก็ชื่นชอบกันนะครับ เท่าที่ได้พูดคุยก็ชอบความแปลกใหม่ ความเป็นไทย องค์ประกอบโดยรวมทั้งหมดของหนังก็น่าสนใจ รวมถึงนักแสดงอย่างอนันดาซึ่งชาวต่างชาติก็ค่อนข้างให้ความสนใจกันนะครับ แต่ที่สุดของความประทับใจในเทศกาลครั้งนี้ก็คือ ตอนหนังฉายจบ ผู้ชมในโรงหนังต่างก็ปรบมือแสดงความชื่นชมกันนานมาก ๆ ตัวผมเองก็ยังรู้สึกตื่นเต้นและภูมิใจกับการให้เกียรติในครั้งนี้มาก ๆ พอได้รับผลตอบรับที่ดีอย่างนี้ก็หายเหนื่อยเลยครับ” ผู้กำกับนนทรีย์เปิดเผยความรู้สึกประทับใจด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม

 

EPA /CLAUDIO ONORATI
โอ้ พี่อุ๋ย รองเท้าเจ็บปวดจริง ๆ  เป็นภาพที่ถ่ายหลังจากการแถลงข่าวเมื่อวานนี้ (5 กันยายน)

 

เท่าที่ทราบมา หนังฉาย 2 รอบ คือ เมื่อวันศุกร์ที่ 5 กันยายน   โดยฉาย 2 รอบ  รอบเช้าเป็นรอบสื่อและคนในวงการ  ส่วนอีกรอบเป็นรอบกลางคืนมิดไนท์  สำหรับคนทั่วไป และเป็นรอบเดินพรมแดง

มีภาพเดินพรมแดงในรอบมิดไนท์ด้วย  แต่เขามีไว้ขาย  ก็เลยไม่กล้าดาวน์โหลดลงมา

ผลตอบรับจากสกรีนเดลี่ไม่ค่อยดีนักนะค่ะ ขอแปลเป็นบางส่วนนะคะ

ลี มาร์แชล / สกรีนเดลี่

ปืนใหญ่จอมสลัดเป็นหนังที่น่าชม  แต่ทุกส่วนของหนังดูแปลกไปหมด  คนที่อยู่ในอารมณ์ชอบหนังรักคง บวกการไล่ล่าแบบแอ็คชั่นกับการออกแบบเสื้อผ้าอันน่าตื่นตาตื่นใจ  ก็คงจะไม่บ่น  แต่ส่วนอื่น ๆ ของหนัง Pirates of the Caribbean ภาคไทยฉบับนี้คงจะไม่

หนังเต็มไปด้วยการผสมผสานระหว่างแฟนตาซีครอบครัวและหนังมหากาพย์ประจำชาติเรื่องนี้  น่าจะเรียกคนดูได้เหมือนกับหนังแอ็คชั่นรักชาติอย่าง นเรศวรได้บ้าง  แต่อาจจะยากที่จะเรียกทุน 140 ล้านบาทจากตลาดในบ้านเพียงอย่างเดียว  

หนังไม่ได้ดูมีสไตล์หรือดั้งเดิมพอที่จะเป็นหนังแอ็คชั่นข้ามชาติได้ ยกเว้นมาเลเซีย (ซึ่งเกี่ยวข้องกับหนังเรื่องนี้ในบางส่วน)  หนังอาจจะมีปัญหาที่จะไปทำธุรกิจที่สหรัฐหรือยุโรปได้  เหมือนอย่างที่เคยเจอใน House of Flying Daggers (ซึ่งโดดเด่นในส่วนดราม่า และมีมุมอันเฉียบคม หลุดจากหนังมหากาพย์แบบเอเชียทั่วไป)  หรือโดดเด่นจากท่าแอ็คชั่นมวยไทยอย่างที่จา พนมโดดเด่น

บทสรุปของพล็อตไม่แข็งพอ  และควรจะได้รับการพัฒนาใหม่  นักแสดงไม่ค่อยลงทุนในส่วนที่เป็นบทบาทของพวกเขามากนัก  ผู้กำกับดำเนินเรื่องไปเรื่อย ๆ ด้วยฉากแอ็คชั่นทุกสิบนาที  แล้วก็ใช้ฉากเสื้อผ้า ต่อด้วยซีจี  พอหนังจะมีเนื้อหาที่จะเล่าเมื่อไร  นักแสดงจะยืนตรงดิ่ง ก่อนที่จะถ่ายทอดโดยนักแสดงอีกคน

แต่ฉากรักถือว่ามีเสน่ห์บางอย่างแบบหนังเทพนิยาย

แปลข้ามเฉพาะส่วนเรื่องย่อของหนังค่ะ  อ่านฉบับเต็มได้ข้างล่างนี้

Lee Marshall in Venice / Screendaily

A big-budget Thai period epic that mixes pirates, magic, martial arts action and a kneejerk eco-pacifist subtext, Queens Of Langkasuka is good to look at but clunky in pretty much every other department. Those in the mood for a chaste action-laced love story with dazzling costumes will not complain but the Thai Pirates Of The Caribbean this most certainly isn't.

Distributor Sahamongkol opens the film in Thailand in October following a likely end-of-September Bangkok Festival screening. As a mix of family fantasy actioner and national epic, Langkasuka should draw the same sort of audiences as previous big-budget patriotic actioners like the two-part 2007 The Legend Of King Naresuan, but it will still struggle to make back its record 140 million Baht budget on home ground alone.

The film is neither stylish nor original enough for significant cross-border action, except perhaps in Malaysia (the ancient kingdom of Langkasuka, of which few documentary or archaeological traces remain, spread over both sides of the present-day frontier). Without the dramatic heft and sharp attitude of breakout Asian epics like House Of Flying Daggers, or the out-and-out kickboxing action that Thai star Tony Jaa specialises in, Queens Of Langkasuka looks unlikely to do much US or European business.

By the early seventeenth century, when the film is set, the kingdom of Langkasuka had been replaced by that of Pattani. But present-day Pattani province is a hotbed of separatism – so the original title, Queens Of Pattani, was changed. Thick with dull exposition in its opening reels, the film opens in a sea-gypsy village where Pari, a young boy, reveals charismatic gifts that lead his uncle to suggest that he should be trained in the eco-friendly Du Lum magic arts by hairy island-dwelling hermit White Ray. Uncle Anjar also slips in a revenge motive by telling Pari that his real father was killed by Black Raven.

Meanwhile, in her fortified royal palace, Queen Hijau (Suksawat) is troubled by an unscrupulous alliance led by pirate captain Black Raven and breakaway royal Prince Rawai. The duo have pinned their victory hopes on the recovery of a pair of massive cannons built by Dutch weapons expert Janis Bree which lie at the bottom of the sea. Hijau's martially-trained younger sister Princess Ungu (Ris) is sent with faithful palace guard Prince Jarang (Thai action specialist Changprung) to find Bree's surviving assistant Lim Kium and to persuade him to build a pair of super-cannons. But Ungu is captured by the pirates, escapes thanks to Pari – now a full-grown heartthrob played by top Thai poster-boy Ananda Everingham – and the two take refuge on the island of White Ray, who finally agrees to train Pari in the nine steps that will lead him to become a Du Lum master.

That's just a bare-bones summary of a plot that has more new developments than Dubai. None of the actors seem to have invested much in their roles and director Nimbutr clearly feels it's enough to keep the story moving along, throw in an action sequence every ten minutes or so and get the costumes and the CGI effects right. When there's information to be conveyed (and there often is), characters stand in fixed formation while one of them conveys it.

But at least the romantic scenes have a certain retro-Disney charm to them, and the final battle scene picks up the pace in a crescendo of cannon fusillades and flying machines, that culminates with Everingham riding in on the back of a giant stingray.

   

ปืนใหญ่จอมสลัด ได้รับการคัดเลือกไปฉายโชว์ที่เวนิซ

 

อัญชลี ชัยวรพร / 29 กรกฎาคม 2551

   
 

 

ลิงค์เทศกาลอยู่นี้่ค่ะ  เราก็ใช้หาจากตรงนี้เหมือนกัน  เพียงแต่ว่าเพิ่งจะมาบอกจ้า http://www.labiennale.org/en/cinema/festival/program/en/14369.1.html

ตามที่ได้ประกาศให้ทราบมาแล้วว่า เทศกาลหนังเวนิซปีนี้อาจจะมีหนังไทยเรื่องหนึ่ง  แต่ต้องขอปิดไว้ตามคำขอร้องจากคนจัด (อ่านได้ใน http://thaicinema.org/board/index.php?topic=144.0)

ล่าสุดประกาศมาแล้วว่า หนังไทยเรื่องนั้น ก็คือ ปืนใหญ่จอมสลัด โดยได้เข้าไปฉายโชว์อย่างเป็นทางการ (Official Out-of-Competion) ในสายการคัดเลือกที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างเทศกาลหนังเวนิซกับเทศกาลหนังฟาร์อีสต์ที่เมืองอูดิเน่

 


ปืนใหญ่จอมสลัด ได้รับการเสนอชื่อให้กับไดเรคเตอร์ของเวนิซมารโก้ มุลเลอร์ โดยซาบรีน่า บาราเซ็ตติ (Sabrina Baracetti) และโธมัส เบอร์ตาชิ (Thomas Bertacche)   หลังจากที่คนทั้งสองมีโอกาสได้ดูหนังจากการฉายในตลาดเมืองคานส์ที่ผ่านมา   ปรกติแล้วทั้งคู่เป็นผู้จัดเทศกาลหนังฟาร์อีสต์ ที่เมืองอูดิเน่ ทางตอนเหนือของเวนิซ   ซึ่งเน้นฉายหนังจากเอเชีย  และคัดเลือกหนังไทยไปฉายทุกปี (อ่านรายงานข่าวเทศกาลหนังนี้ทุกปีได้ที่นี่)   พวกเขาได้เข้าร่วมช่วยเลือกหนังจากเอเชียให้กับเวนิซตั้งแต่ปี 2549   เนื่องจากมีตัวแทนในเครือข่ายอยู่หลายประเทศในเอเชีย  โดยจะเลือกหนังฟอร์มใหญ่ที่น่าสนใจปีละ 2 เรื่อง



ซาบรีน่า บาราเซ็ตติ ให้เหตุผลว่า ปืนใหญ่จอมสลัด เป็นหนังฟอร์มใหญ่ที่ดีที่สุดในหลายปีนี้   และยังเป็นงานของนนทรีย์ นิมิบุตร ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกหนังไทยยุคใหม่  ประกอบกับเท่าที่ผ่านมา  งานของนนทรีย์ ยังไม่เคยไปฉายในเบอร์ลิน คานส์ และเวนิซ

เทศกาลหนังฟาร์อีสต์ ได้ชื่อว่าเป็นเทศกาลที่แนะนำผู้กำกับเอเชียให้เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตก  ก่อนที่พวกเขาจะโด่งดังจนภาพยนตร์ได้รับการติดต่อจากคานส์ เบอร์ลิน หรือเวนิซ  ผู้กำกับเอเชียหลายท่านที่เริ่มจากที่นี่มีทั้ง มิเกะ จากญี่ปุ่น  ตู้ฉีฟง จากฮ่องกง เป็นต้น  

ี่คุณนนทรีย์ นิมิบุตร  ซึ่งกำลังตรวจสอบปรินท์อีกครั้งได้เปิดเผยเรื่องนี้กับทางเว็บไว้ว่า "เพิ่งได้รับจดหมายแจ้งอย่างเป็นทางการเมื่อสองสามวันนี้เอง  ตอนแรกคิดว่าไม่ได้แล้ว  เพราะหนังค่อนข้างเป็นคอมเมอร์เชียลมาก  ดีใจมากที่ได้เห็นงานหนังที่ต่างจากที่เวนิซเคยฉาย  และคราวนี้เป็นการคัดเลือกอย่างเป็ฯทางการ หรือ Official Selection ด้วย"

นนทรีย์ยังคงนำเวอร์ชั่นที่เคยไปฉายในตลาดเมืองคานส์ในการเดินทางไปเวนิซครั้งนี้  และคาดว่าจะนำนักแสดงไปด้วยสัก 2 - 3 คน  

ต่อข้อซักถามที่ว่า การไปเวนิซครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญของเขาสู่โลกตะวันตกครั้งนี้หรือไม่

"คือ จริง ๆ แล้ว เวลาทำงาน  ก็อยากทำมันออกมาให้ดีที่สุด  อะไรที่ได้หลังจากนั้นถือว่าเป็นโบนัสในการทำงานชิ้นหนึ่งแค่นั้น  ก็ดีใจที่จะมีคนรู้จักเรามากขึ้น  ไม่ได้คิดถึงขนาดนั้นหรอกครับ  แค่ได้เป็นหนังที่คัดเลือกอย่างเป็นทางการ หรือ Official Selection ก็เพียงพอแล้ว สำหรับงานของเราที่ค่อนข้างเป็นคอมเมอร์เชียล"

ปืนใหญ่จอมสลัด เป็นหนังไทยเรื่องที่สามที่ได้รับการคัดเลือกไปฉายที่เวนิซ  โดยมี เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล หรือ Last Life in Universe ของเป็นเอก ไปประกวดในสายรอง  และ Syndrome and A Century ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ไปเข้าประกวดในสายหลักเมื่อปี 2549   

นอกจากปืนใหญ่จอมสลัด แล้ว หนังฟีเจอร์ที่ได้รับการคัดเลือกในสายนี้ได้แก่  

Out-of-competition

Paolo Benvenuti Puccini e la fanciulla – Italy, 84’, Riccardo Moretti, Tania Squillarlo, Giovanna Daddi, Debora Mattiello, Federica Chezzi

Adriano Celentano Yuppi Du – Italy, 125’, Adriano Celentano, Charlotte Rampling, Claudia Mori, Gino Santercole

Joel Coen, Ethan Coen Burn After Reading – USA, 95’ George Clooney, Brad Pitt, Frances McDormand, John Malkovich, Tilda Swinton

Claire Denis 35 Rhums – France / Spain, 100‘ Alex Descas, Gr?goire Colin, Nicole Dogue, Mati Diop 

Abbas Kiarostami Shirin – Iran, 94’, Juliette Binoche, Mahnaz Afshar, Niki Karimi

Agn?s Varda Les Plages d’Agn?s – France, 100’, (documentary)

Fabrice Du Welz Vinyan – France / UK / Belgium, 95’, Emmanuelle B?art, Rufus Sewell

Jos? Mojica Marins Encarna??o do demonio – Brazil, 90’, Jos? Mojica Marins, D?bora Muniz, Raymond Castile

Out-of-competition, with Far East Film Festival

Minoru Kawasaki Girara no gyakushu / Samitto kiki ippatsu! (Monster X Strikes Back: Attack the G8 Summit!) – Japan, 98’ โดย Natsuki Kato, Kazuki Kato, Hirohisa Nakata, Susumu Kurobe

Nonzee Nimibutr Puen yai jom sa lad (Queens of Langkasuka) – Thailand, 147’, Ananda Everingham, Jarunee Suksawat, Sorapong Chatri

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.