สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
หนังตัวเต็ง 3 เรื่อง
  เมนูเบอร์ลิน
   
 

Nader and Simin : A Seperation


Nader and Simin, A Seperation อิหร่าน กระชับ กลม เข้มข้น

 

มีอะไรที่ทำให้หนังที่เนื้อเรื่องธรรมดาเรื่องนี้กลายเป็นที่สนใจของคนไปทั่วเทศกาล หนังเรื่องนี้เป็นที่สนใจของกลุ่มผู้ซื้อตั้งแต่ก่อนหนังจะฉายประกวดอย่างเป็นทางการเสียอีก หนังเริ่มฉายในวันอังคาร - ช่วงครึ่งหลังของเทศกาล (และกลายเป็นวันที่ฉายหนังมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลทั้งคู่ อีกเรื่องก็คือ A Turin Hourse) และผู้กำกับกับทีมงานก็เริ่มเดินทางมาถึงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานี้เอง

เรื่องเริ่มจากสามีภรรยา Nader และ Simin หันหน้าเข้าหากล้อง ซึ่งสมมติให้แทนสายตาของทนายความที่ฝ่ายภรรยานาเดียร์ยื่นฟ้องขอหย่าจากสามีซิมิน เธอโกรธที่สามีไม่ยอมเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วย เพราะการที่จะได้้วีซ่านั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก จนวีซ่า 6 เดือนเหลือเวลาที่จะใช้ได้เพียง 40 วัน ฝ่ายซิมินไม่ต้องการเดินทางเพราะต้องดูแลพ่อที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ฉากนี้กล้องใช้แทนสายตาทนายความโดยตลอด มีแต่สองสามีภรรยาโต้แย้ง ทนายสั่งยกฟ้องไม่ให้หย่า

แต่นาเดียร์ตัดสินใจย้ายออกจากบ้าน เธอจะเอาลูกสาววัย 14 ขวบไปด้วย แต่สาวน้อยไม่ต้องการ ซิมินตัดสินใจจ้างหญิงมาทำงานช่วงกลางวัน เพื่อดูแลบ้านและพ่อของเขา  ราเซียห์ตั้งท้องอ่อน ๆ แต่เธอต้องการช่วยสามีหารายได้เพิ่ม เพราะตกงาน ทุกครั้งที่เธอไปทำงาน เธอต้องนำลูกสาววัย 4 ขวบไปทำงานด้วย

 

ในช่วงแรก หนังลำดับเรื่องในช่วงทำงานรับจ้างไม่กี่วันของราเซียห์ เธอขอลาออกตั้งแต่วันแรก เพราะการดูแลพ่อของซิมินนั้นต้องรวมทั้งการอาบน้ำให้พ่อผู้ป่วยของซิมินด้วย    ซึ่งเป็นกฎข้อห้ามของศาสนาอิสลามที่ไม่ให้ชายหญิงถูกเนื้อต้องตัวกัน เธอแนะนำซิมินให้ติดต่อกับสามีของเธอให้มาทำงานนี้แทน เขารับปาก แต่มาไม่ได้ เพราะถูกเจ้าหนี้จับตัวไป ราเซียห์์ต้องมาทำงานแทน และนั่นไปสู่เหตุการณ์มากมาย ไม่ว่าการเดินหายออกไปจากบ้านของพ่อซิมิน จนราเซียห์์ต้องตัดหน้ารถเพื่อไปช่วยเขา แต่หนังตัดภาพไป ไม่แสดงให้เห็นว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้น ทิ้งไว้ให้เราผู้ชมงง

วันรุ่งขึ้น ซิมินกลับบ้านเร็ว และพบว่าพ่อถูกมัดไว้ ตกเตียงและเกือบตาย เขาช่วยชีวิตไม่ทัน เขาตัดสินใจไล่ราเซียห์์ออกด้วยข้อหาทิ้งพ่อของเขา แถมขโมยเงินไป นั่นเป็นเหตุที่เธอรับไม่ได้ กลับมาโต้ตอบ จนซิมินบันดาลโทสะ ผลักราเีซียห์์ล้ม จนเธอแท้งลูก สามีของเธอทราบเข้า นำไปสู่การฟ้องร้องในที่สุด

เหตุการณ์หลังจากนั้นเป็นเรื่องของการฟ้องร้องและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงหลายอย่าง ทั้งความจริงที่ว่าซิมินไม่รู้ว่าราเซียห์ท้้องจริงหรือ   มีการเรียกพยานหลักฐานมากมาย  จนราเซียห์เกือบจะชนะ  เมื่อนาเดียร์ตัดสินใจให้ซิมินชดใช้ค่าเสียหายให้กับราเซียห์เสีย

แต่แล้ว ความซับซ้อนก็เกิดขึ้นมาอีก ราเซียห์ไม่แน่ใจว่าลูกในท้องตายเมื่อไร ซึ่งไม่ขอเล่าให้ฟังหรอกนะ  แต่ยอมรับว่าทุกอย่างมันสอดคล้อง กลมและตอบรับ ต่อเนื่องกัน คือ จริง ๆ การใช้ภาษาหนังเรื่องนี้ไม่ได้โดดเด่นอะไรมากนัก แต่จุดเด่นของมันมีเงื่อนงำ มีปม กลมเป็นก้อนเดียวกัน ทั้งบท การแสดง ภาพของกล้อง และการตัดต่อ หลาย ๆ ตอนที่เรารู้สึกเหมือนว่าหนังจะทิ้งเรื่องไป อย่างฉากที่ราเซียห์์เห็นพ่อของซิมินกำลังจะถูกรถชนจากการข้ามถนน แต่มันก็มาเฉลยในตอนจบ และฉากนี้จริงๆ แล้วมันเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง Asghar Farhadi รู้ว่าจะหยุดช่วงไหน จะขมวดจุดไหนเป็นปมของเรื่อง ก่อนนำไปสู่การคลายปมในที่สุด

ด้วยความไม่มีคู่แข่งมากนัก หนังอาจจะได้รางวัลหมีทองคำไปในที่สุด

The Turin Horse บนความหนาวและจุดจบ ของเบล่า ทาร์

 

The Turin House, Bela Tarr ตลอดทั้งเรื่องใช้แต่ลองเทคกว่า 30 ครั้ง

 

ก่อนที่จะได้ดูหนังเรื่องนี้ ผู้เขียนได้คุยกับนักวิจารณ์ชื่อดังของเยอรมัน ว่าหนังเป็นอย่างไร เขาบอกว่า ถ้าเธอชอบหนังของเขา เธอก็จะยิ่งชอบ ผู้เขียนถามว่าเหมือนกับอภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกิจ สิ เขาหัวเราะ

เบล่า ทาร์เหมือนเจ้ยอย่างหนึ่ง สองคนนี้ทำหนังยาวสลับกับหนังสั้นตั้งแต่ปี 1977 และมีสไตล์การทำหนังที่ไม่ปรานีปรานอม จนแฟนหนังของ 2 คนนี้แบ่งเป็นขาว - ดำ ชัดเจน พวกชอบก็จะชอบมาก พวกไม่ชอบก็เกลียดมาก

The Turin Horse อาจทำให้คนที่เคยไม่ชอบ A Man From London ภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้านี้ของเขา จะหันมาชอบเขามากขึ้น หนังยังคงมีความเป็นตัวเขาอย่างชัดเจน ถ่ายเป็นขาวดำเหมือนอย่างหนังเรื่องที่แล้ว แบ่งเป็น 5 บทหรือ 5 วัน ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 1899 ม้าตัวหนึ่งถูกเฆี่ยน ก่อนที่จะยอมแพ้ด้วยอาการนิ่งเงียบ เสียงบรรยายบอกว่านักปรัชญานิชเช่ได้เห็นเหตุการณ์นี้ แต่เรื่องราวของหนังสมมติว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับม้าหลังจากนั้น เหตุการณ์เกิดขึ้นในบ้านชนบทแห่งหนึ่งที่มีแต่พ่อกับลูกสาว ซึ่งเลี้ยงม้าตัวนี้ไว้ ลมพายุพัดแรงมาก จนพ่อลูกแทบจะทำงานไม่ได้ หนังลำดับเหตุการณ์ไปแต่ละวัน ซึ่งตอนแรกดูเหมือนจะไม่มีอะไร ลูกสาวเตรียมอาหารให้พ่อทาน ซึ่งมีแต่มัน กับน้ำ หลังจากนั้นลูกสาวมาดูแลให้พ่อไปนอน แล้วเธอก็นอน โดยเหตุการณ์นี้ พวกเขาแทบจะไม่ได้พูดกันเลย มีแต่ความเงียบ บางครั้งก็จะมีเสียงผู้บรรยายขมวดในตอนจบ

วันรุ่งขึ้น ลูกสาวมาแต่งตัวให้พ่อไปทำงาน วันต่อมามีคนมาเยี่ยม ลูกสาวจะไปขุดน้ำในบ่อ พบว่าน้ำแห้งไม่เหลือเลย ขบวนคาราวานยิปซีเดินผ่าน พบปะพูดคุยกัน ขณะเดียวกัน ก็ไปดูแลม้า ซึ่งไม่ยอมส่งเสียง ไม่ยอมกิน ทั้งสองเริ่มเป็นห่วง แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ก่อนที่จะมาถึงวันสุดท้าย พ่อและลูกอยู่บนโต๊ะอาหาร ลูกสาวนิ่งเงียบ พ่อบอกว่าอย่างน้อยต้องกินอะไรบ้าง แล้วพ่อก็ตั้งหน้าตั้งตากินมันแบบเดิม แต่มันมื้อสุดท้าย มันแข็ง ไม่ร้อน เพราะไม่มีน้ำที่จะต้มเผือกนั่นเอง

เบล่า ทาร์ ควบคุมอารมณ์ทุกอย่างภายใต้การควบคุม เขาใช้ลองเทคเยอะมาก จนมีคนบอกว่าทั้งเรื่องใช้ลองเทคถึง 30 ครั้งและแทบจะไม่ตัดเลย การคุมเสียงถือว่าชั้นเลิศ ฉากส่วนใหญ่จะถ่ายในบ้าน ซึ่งการใช้แสงนั้นถือว่ายอดเยี่ยมที่สุด ส่วนใหญ่เป็น low-key lighting คู่ไปกับเสียงพายุลมที่มันกระหน่ำมาตลอด 4-5 วันนี้ หนังแทบจะไม่ใช้บทพูดเลย แถมบางครั้งมีแค่เสียงบรรยายของผู้บรรยายอีกด้วย ภาพขาวดำของเรื่องมันชวนให้นึกถึงหนังเก่า ไม่ได้ดูสดเหมือนหนังใหม่

หนังที่ดูเหมือนไม่รู้เรื่อง เริ่มเฉลยธีมหลักจากคำพูดของเพื่อนบ้านคนเดียวที่มาเยี่ยม มันทำให้เรารู้สึกหดหู่ และสงสารในชะตากรรมของพ่อลูกคู่นี้ พวกเขาถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างตามลำพัง แม้เมื่อจะหนีไปในตอนหลัง ก็ดูเหมือนจะไม่ชัดเจน

 

 

 

If Not Us, WHO - He had revolution on his lips and the bourgeois under his ass.

 

 

ชื่อหนังที่ดูเชย ๆ ในภาษาอังกฤษนี้ กลายเป็นหนังที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เป็นหนังการเมืองที่ชัดเจนเพียงเรื่องเดียว จากฝีมืออดีตผู้กำกับสารคดีมือรางวัลอังเดร วีล เขาทำหนังสารคดีมาตั้งแต่ปี 1991 มีเรื่องที่ได้รางวัล อาทิ Addicted to Acting (2004), The Kick (2006) ก่อนจะมาทำหนังยาวเรื่องนี้ในสองปีนี้

หนังดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของเบิร์ดเวิร์ด เวสเปอร์ ลูกชายของอดีตนักเขียนนาซี และกุครุน เอสลิน ลูกสาวของอดีตทหารยุคฮิตเล่อร์ หนังเรื่องเริ่มตั้งแต่ปี 1961 เมื่อทั้งคู่พบกันในมหาวิทยาลัย และเพราะมีความคิดที่แตกต่าง พวกเขาตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือแนวคิดการเมืองตรงข้ามกับกระแสหลัก แรก ๆ ก็จะเป็นต้านความคิดเก่า ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของฮิตเลอร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาถือว่าเป็นการปกป้องตนเอง พวกเขาตีพิมพ์บทกวีและหนังสือแนวคิดต่อต้านหลายอย่าง ทั้งผลงานของบิดาที่ได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนนาซี และเมื่อหนุ่มสามทั่วโลกกำลังเรียกร้องความคิดแนวเสรีนิยม ต่อต้านสงครามเวียดนาม ขบวนการต่อสู้เสรีของคนผิวสี พวกเขาก็ประสานความคิดตรงนั้น จากการพิมพ์หนังสือแนวคิดการเมืองตรงข้ามเป็นหลัก

การกระทำของพวกเขาย่อมถูกต่อต้านจากคนเยอรมันจำนวนมาก พวกเขาถูกเรียกว่า "คอมมิวนิสต์" ไล่ให้ไปอยู่เยอรมันตะวันออก ถูกขู่ ถูกลอบยิง แต่เบิร์ดเวิร์ดก็ยังคงแสดงจุดยืนของเขาด้วยการตีพิมพ์หนังสือ ขณะที่ภรรยาอย่างกุครุนเริ่มเดินออกนอกกฎเกณฑ์หลังจากพบหนุ่มนักปฎิวัติหนุ่มหัวรุนแรงนามอังเดรีย บาเดอร์ ทั้งสองเริ่มก่อเหตุการณ์ร้ายหลายอย่าง ตั้งแต่เผาห้างสรรพสินค้ากลางกรุงแฟรงค์เฟิร์ต

ผู้กำกับทำหนังเรื่องยาวเรื่องแรกได้อย่างน่าสนใจ น่าติดตาม และยังคงแฝงความเป็นผู้กำกับสารคดีมือเก๋า ด้วยการนำฟุตเทจเหตุการณ์การเมืองในช่วงปี 1961-1970s มาสลับกับเหตุการณ์ชีวิตของหนุ่มสาวคู่นี้ การถ่ายหนังให้บรรยากาศแบบรุ่นเก่าได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพลงหรืออาร์ตไดเร็คชั่น

ดูหนังเรื่องนี้ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บ้านเราอย่างช่วยไม่ได้ ไม่ว่า "Who told that killing a communist was allowed? แต่ชอบที่สุดก็ตรงนี้

'He had revolution on his lips and the bourgeois under his ass.

หนังแสดงให้เห็นความคิดของคนกลุ่มนี้ ซึ่งน่าสนใจ ไม่ว่าพวกเขาจะคิดถูกคิดผิด นาซีจะถูกหรือไม่ ฮิตเล่อร์ป้องกันตนเองหรือเปล่า ...ก็เป็นความคิดหนึ่ง แต่ที่น่าให้ความนับถือกับพวกเขา ก็คือ พวกเขาตัวจริง ...ดูหนังแล้ว ชวนให้ไปหางานของพวกเขามาอ่านมาก ๆ

 

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.