สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
หนังประกวด
  อัญชลี ชัยวรพร
  LINK :
 

Day 7 Hanezu การรอคอยแห่งกขุนเขา

 

 

ตำนานปรัมปราของญี่ปุ่นเล่ากันว่า ผู้คนในขุนเขา 3 แห่งอยู่ได้ด้วยการรอคอย เขาอุเนบิ มิมินาชิ คางึ พวกเขาต่อสู้เพื่อมีชีิวิตอยู่ และให้ดำเนินต่อไป

ในอดีต ทหารหนุ่มต้องทิ้งภรรยาและลูกไปเพื่อออกรบ เขาไม่ได้กลับมาอีกเลย

ทาคูมิและคาโยโกะ ทราบเรื่องราวของปู่กับย่าที่ต้องจากกัน พ่อของทาคูมิบอกว่า เขาเป็นคนมีส่วนคล้ายคุณปู่มาก คาโยโกะทราบเรื่องราวของปู่กับย่าเหมือนผ่านเลยไป

วันหนึ่ง คาโยโกะบอกทาคูมิว่า เธอตัดสินไปทำแท้ง เพราะไ่ม่สามารถ "รอคอย" ได้อีกต่อไป

Hanezu เป็นหนังที่คุณดูแทบไม่รู้เรื่องตลอด จนกระทั่งตอนจบ แต่ขณะดูหนังเรื่องนี้ มันมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราต้องติดตามตลอดเวลา นาโอมิ คาวาเสะ ทำหนังเรื่องนี้ด้วยตนเองเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะกำกับ ตัดต่อ ถ่ายภาพ ซึ่งเธอทำได้อย่างดีมาก

Hanezu เป็นหนังที่คล้าย ๆกับของเจ้ย อภิชาติพงศ์ ในแง่ที่นำตำนานพื้นบ้านมาทำเป็นหนัง แต่ขณะที่อภิชาติพงศ์นำตำนานพื้นบ้านมาเพื่อเล่าแรงบันดาลใจของตน คาวาเสะนำตำนานเรื่องความรักมาเชื่อมกับปัจจุบันเข้าด้วยกัน   เรื่องราวความรักที่ไม่สมหวังของคน 2 รุ่น ขณะที่ย่าต้องรอคอยปู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพราะเขาต้องไปทำหน้าที่  คาโยโกะต้องรอคอยทาคูมิ เพราะความจำเป็นบางอย่าง  ขณะที่คุณย่ารอคอยคุณปู่ได้ เลี้ยงดูลูกชาย ซึ่งเป็นพ่อของทาคูมิ แต่คาโยโกะกลับไม่มีความอดทนแบบนั้น

แล้วตำนานรอคอยแห่งสามขุนเขาคงดำเนินอยู่ต่อไป

คาวาเสะทำหนังเรื่องนี้อย่างละเมียดละไมมาก  ความผูกพันของเธอกับธรรมชาติที่เห็นในหนังก่อนหน้านี้  ดูจะชัดเจนที่สุดในผลงานเรื่องล่าสุดนี้ เธอควบคุมนักแสดงเล่นเป็นธรรมชาติ ราวกับเป็นลูกหลานแห่งขุนเขาแห่งนั้นจริง ๆ  เธอถ่ายภาพเองและแสดงให้เห็นความผูกพันของธรรมชาติกับตัวละคร และกงกรรมกงเกวียนนั้นอย่างเห็นได้ชัด  การตัดต่อและการจัดองค์ประกอบทุกอย่างมันสวยงาม กระซิบอย่างแผ่วเบา ราวกับบทกวีที่นำร้อยเรียงเพื่อบอกเรื่องเล่าแห่งขุนเขานั้นมาเป็นเวลานาน

นี่อาจจะเป็นผลงานเรื่องที่ดีที่สุดของนาโอมิ คาวาเสะ   

 

Pater ตลกและความเข้าใจเฉพาะถิ่น

 

 

การฉายหนัง Pater โดย Alain Caveliar ได้ประเมินคุณค่าบางอย่างของหนังเรื่องนี้อยู่แล้ว  หนังฉายรอบ 4 โมงเพียงรอบเดียว กับรอบหลังพรีเมียร์อีกเพียง 1 รอบ แถมฉายเวลาสี่โมงเย็น  ไม่ใช่รอบกาล่าใด ๆ ทั้งสิ้น และเมื่อดูหนังแล้ว  ก้คิดว่าถ้าพลาดหนังเรื่องนี้ไป  ก็ไม่ได้เสียอะไร

Pater เล่าเรื่องของผู้กำกับสองคนที่กำลังจะทำหนัง โดยให้ดาราฝรั่งเศสสองคนเป็นคนเล่าเรื่อง คือ วินเซนต์ ลินเดน และ โดยบันทึกภาพของการดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การทำกับข้าว   ออกไปถ่ายหนัง หนังเน้นบทพูดมาก   จนอาจกล่าวได้ว่า บทพูดของดาราทั้งสองเป็นตัวนำเรื่อง  พวกเขาพูดในครัว  พูดในบ้าน   พูดห้องของนายก  แล้วการบันทึกเทปและการพูด  ในตอนท้ายกลายเป็นเรื่องการเมือง  ไปจบที่ห้องของนายก  ซึ่งมีโต๊ะทำงานเล็กนิดเดียว  เตียงก็เล็ก  แต่ครัวใหญ่มาก  โดยระหว่างการบันทึก  ก็มักจะมีนักแสดงบางคนที่จะโยงไปถึงการเมืองบ้าง

หนังมีลักษณะเฉพาะตัวแบบฝรั่งเศสมาก  จนยากแก่การเข้าใจ  เห็นแต่คนฝรั่งเศสหัวเราะใหญ่  แต่เราชาวต่างปรเทศไม่เข้าใจ แม้พยายามจะเข้าใจ และไม่แปลกใจอีกเช่นกันที่เขาฉายแบบหลบ ๆ เพียงรอบเดียว

 

หัวเราะทั้งน้ำตา กับ Le Havre ของเคาริสมากิ

 


หลังจากไม่ได้ทำหนังยาวมานานกว่า 5 ปี อากิ เคาริสมากิกลับมาอีกครั้งด้วยพลังที่ยังแรงเหมือนเดิม หนนี้ด้วยเนื้อหาความยากลำบากของผู้อพยพในฝรั่งเศส ด้วยโทนหนังที่เน้นความเป็นมนุษย์มากขึ้น

Le Havre เป็นเมืองท่าทางทะเลในฝรั่งเศสด้านที่ติดกับอังกฤษ เป็นท่าเรือที่ยังมีเรือขนส่งคนและสินค้าไปมาระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสอยู่จนถึงทุกวันนี้ หนังเริ่มเรื่องจากมาร์เซล มาร์กซ์ อดีตนักเขียนที่ต้องหาเลี้ยงชีพจากการรับจ้างขัดรองเท้าในเมืองท่าแห่งนี้ มาร์เซลอาศัยอยู่ในบ้านเล็ก ๆ ในชุมชนของคนที่ไม่มั่งคั่งกับเมีย หนังเผยให้เห็นความยากลำบากในการดำเนินชีวิต เขาติดเงินค้างค่าอาหารกับร้านขายของแถวบ้านอยู่เป็นประจำ

แต่มาร์เซลกลับเป็นชายยากจนที่เต็มไปด้วยความโอบอ้อมอารี วันหนึ่งเขาไปเจอไอดริสสา เด็กชายผู้แอบหลบคนเข้าเมืองมาที่นี่ เขาถูกตำรวจติดตาม มาร์เซลรู้ข่าว แต่เขาก็ยังคงนำอาหาร พร้อมเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับไอดริสสาไว้ใช้ ก่อนที่จะต้องให้ความช่วยเหลือเด็กชายที่จะอพยพไปหาแม่ที่อังกฤษ

Le Havre เป็นหนังที่ยังคงสไตล์การทำหนังของเคาริสมากิทุกรูปแบบ นอกจากโทนหนังที่เน้นความเป็นมนุษย์มากขึ้น หนังมีความเป็นดราม่าและอบอุ่น อย่างเงียบ ๆ จนไม่น่าเชื่อว่าวิธีการทำหนังที่ออกจะ “เย็น ๆ และหน้าตาย” ของเขาอย่างที่เรารู้จักกัน สามารถสร้างพลังได้มากขนาดนี้ นักแสดงลดอาการหน้าตายให้น้อยลงอย่างที่เรามักจะพบประจำในหนังของเขาก่อนหน้านี้ เท่า ๆ กับที่เคาริสมากิพยายามสร้างตัวละครที่มีแต่ความอบอุ่น หญิงเจ้าของร้านขายขนมปังที่ใจดี ชายเจ้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตที่อาจจะดูเบื่อหนี้ที่ไม่ค่อยชำระของมาร์เซล แต่เขาก็นึกถึงมาร์เซลเมื่อมีของฟรีจะให้ ชายเวียดนามที่ยินดีจะสละเงิน 200 ยูโร เงินที่เก็บไว้ซื้อจักรยานให้ลูก เพื่อช่วยเด็กผิวดำหนีไปอังกฤษได้ แม้แต่ตำรวจก็ให้ความช่วยเหลือกับเขา ทุกอย่างมันดูอบอุ่น สวยงาม

หนังมีบรรยากาศเหมือนเกิดขึ้นในยุค 1970 มากกว่าปี 2000s โดยมีเพียงเงินยูโรร่วมสมัยเท่านั้นที่เป็นเครื่องแสดงความร่วมสมัยในสังคมปัจจุบัน

การใช้โทนสีจัดจ้านยังมีอยู่ แต่เห็นได้ชัดว่าการจัดองค์ประกอบหนังของมาร์เซลครั้งนี้อยู่ในโทนมืดลง แสงที่ช้ส่วนใหญ่ก็เป็นโลว์คีย์ แต่เป็นความมืดแบบอบอุ่น ไม่ใช่มืดแบบที่คุณจะได้เห็นในหนังฟิลม์นัวร์ สีที่ใช้เป็นสีพาสเทลที่เรามักจะเป็นตามบ้านชนบทในฝรั่งเศส แต่เป็นสีพาสเทลแบบผสมสีขาวน้อยลง และมักจะแทรกตามองค์ประกอบเล็ก ๆ ในหนัง เช่น พรม ตู้โทรศัพท์ ประตูห้อง เลยทำให้หนังดูออกทึม ๆ เล็กน้อย พร้อมกับช่วงเวลาในหนัง ถ้าไม่ใช่กลางคืน ก็จะเป็นช่วงที่แสงเบา ๆ ไม่เจิดจ้า ดนตรีที่ใช้ก็แสดงให้เห็นชัดว่าเพื่อต้องการสร้างความอบอุ่นในหนังอย่างเห็นได้ชัด

เป็นหนังที่คุณจะหัวเราะทั้งน้ำตา เพราะเคาริสมากิยังคงมุขตลกเล็ก ๆ ไว้ในหนัง เป็นหนังที่สร้างกำลังใจให้มีชีวิตอยู่ ตัวละครในหนัง

   
   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.